ART-THAI-TIME Bhirasri Institute of Modern Art Revisited AT BACC


ART-THAI-TIME : ศิลปะ-ไทย-เวลา เยือนย้อนหลังหอศิลป์ ศิลป พีระศรี – โครงการ 100 ปี คอร์ราโด เฟโรชี (ศิลป พีระศรี) ถึงสยาม


นิทรรศการ ART-THAI-TIME (ศิลปะ-ไทย-เวลา)

เยือนย้อนหลังหอศิลป พีระศรี – โครงการ 100 ปี คอร์ราโด เฟโรชี (ศิลป พีระศรี) ถึงสยาม
9 พฤษภาคม – 20 สิงหาคม 2566

เราต่างก็คุ้นเคยกับวลีภาษาอิตาลีสุดโด่งดังที่บอกว่า arts longa vita brevis หรือ ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่รู้ว่า วลีนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากครูผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย และเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาศิลปะให้กับศิลปินแถวหน้าของไทยมามากมาย ชื่อของศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี (Silpa Bhirasri) ถูกกล่าวขานเสมอมาในฐานะครูผู้พัฒนาวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้า บุกเบิกงานศิลปะตะวันตกในไทย และสร้างคุณูปการมากมายให้กับวงการศิลปะไทย

ศาสตราจารย์ศิลป์ ประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี เข้ามารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งภายหลังได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ในฐานะครูและคณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์คนแรก ที่ริเริ่มการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปะตะวันตก และผสมผสานรูปแบบศิลปะตะวันตกเข้ากับความเป็นไทย โดยไม่ละทิ้งเสน่ห์อันอ่อนช้อยงดงามของงานศิลปะไทย จนกลายมาเป็นรากฐานของงานศิลปะไทยสมัยใหม่

และอีกหนึ่งคุณูปการสำคัญ คือการริเริ่มการสร้างหอศิลปะสาธารณชนแห่งแรกของประเทศไทยในชื่อ หอศิลป พีระศรี เพื่อให้เป็นสถาบันที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนสังคมและศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ผ่านการเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้านศิลปะจนกลายเป็นหอศิลปะสาธารณะต้นแบบให้กับหอศิลป์อีกมากมายในประเทศไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีการมาเยือนประเทศไทยของศาสตราจารย์ศิลป์ จึงนับเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบครั้งสำคัญของวงการศิลปะไทย และได้เกิดเป็นนิทรรศการเชิดชูเกียรติในชื่อ ศิลปะ-ไทย-เวลา

นิทรรศการ ART-THAI-TIME (ศิลปะ-ไทย-เวลา) เยือนย้อนหลังหอศิลป พีระศรี – โครงการ 100 ปี คอร์ราโด เฟโรชี (ศิลป พีระศรี) ถึงสยาม รวบรวมข้อมูลจดหมายเหตุ (Archive) เกี่ยวกับหอศิลป พีระศรี ตั้งแต่แนวคิดการริเริ่มการสร้าง แนวทางการขับเคลื่อนสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัยด้วยศิลปะ ไปจนถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของหอศิลป พีระศรีและวงการศิลปะไทยที่เติบโตมาด้วยกัน

ด้วยบทบาทการเป็นสถาบันที่นำเสนอนิทรรศการและกิจกรรมทางศิลปะมาอย่างต่อเนื่องในหลากหลายแขนง ไม่เฉพาะงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม หรือประวัติศาสตร์ศิลปะ แต่ยังรวมทั้งละครเวที ภาพยนตร์ ดนตรี ศิลปะการแสดงต่างๆ ที่เปิดโอกาสและพื้นที่ให้กับผลงานสร้างสรรค์ทั้งตามขนบและรูปแบบล้ำสมัยของศิลปินทุกรุ่นทุกวัย

หอศิลป พีระศรีจึงนับเป็นพื้นที่แห่งความหลากหลายในวงการศิลปะ และนำความใหม่มาสู่สังคมไทยในฐานะหอศิลป์สาธารณะแห่งแรก และเป็นสถาบันศิลปะแห่งนวัตกรรมสมัยใหม่ที่สร้างความเคลื่อนไหวให้กับสังคมในวงกว้าง ช่วยสะท้อนความเป็นอยู่ โลกทัศน์ และสภาวะของสังคมไทยในบริบทยุคเปลี่ยนผ่าน และสร้างความต่อเนื่องของศิลปะในสังคมสืบทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน

นิทรรศการ “ศิลปะ-ไทย-เวลา” เยือนย้อนหลังหอศิลป พีระศรี – โครงการ 100 ปี คอร์ราโด เฟโรชี (ศิลป พีระศรี) ถึงสยาม เปิดให้เข้าชมฟรีตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 8 หอศิลปกรุงเทพฯ (BACC) ติดกับ BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ

NOW AND NEXT AT BACC

NOW: EARLY YEARS PROJECT #6: In A Cogitation

วันที่ : 03 พฤษภาคม – 13 สิงหาคม พ.ศ.2566
สถานที่: ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7
นิทรรศการจากศิลปินหน้าใหม่ที่ผ่านการคัดเลือกจากศิลปินอิสระทั่วประเทศภายใต้การสนับสนุนของหอศิลปกรุงเทพฯ เพื่อบ่มเพาะและสร้างเครือข่ายศิลปิน ปีที่ 6 นี้มาพร้อมหัวข้อ In A Cogitation หรือการใคร่ครวญ ที่เปิดโอกาสให้ศิลปินถ่ายทอดความสร้างสรรค์อันหลากหลายผ่านประเด็นทางสังคมที่ชวนให้ผู้ชมขบคิด

• NEXT: รามา รักษา ศิลป์

วันที่ : 27 กรกฎาคม – 6 สิงหาคม พ.ศ.2566
สถานที่: ห้องนิทรรศการหลักชั้น 9
โรงพยาบาลรามาธิบดีร่วมกับทัชชะพงศ์ ประเวศวรารัตน์ ร่วม+ส่งต่อความสุขและสุขภาพที่ดีให้คนไทย เปิดโอกาสให้ผู้มีใจรักศิลปะร่วมประมูลผลงานจากคอลเลกชั่นส่วนตัวจากศิลปินไทยชื่อดังกว่า 67 ชิ้นทั้งในรูปแบบภาพวาดจิตรกรรมและประติมากรรม เพื่อนำรายได้ไปสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีและย่านนวัตกรรมโยธี เพื่อการเข้าถึงสาธารณสุขที่ทั่วถึงของประชาชน พรัอมจัดแสดงผลงานให้ได้ชมกัน ณ ห้องนิทรรศการหลังชั้น 9 เร็วๆ นี้

NEXT: ศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 12

วันที่: 1 มิถุนายน – 20 กรกฎาคม พ.ศ.2566
จากการประกวดกิจกรรมศิลปกรรมช้างเผือก กิจกรรมเฟ้นหาศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยให้ขยายไปสู่การรับรู้ของสังคมในวงกว้าง ผ่านการนำเสนอผลงานรูปแบบจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อผสม โดยไม่จำกัดเทคนิคประจำปีพ.ศ.2566 ที่เพิ่งทำการประกาศรางวัลไปหมาดๆ ในหัวข้อ รักโลก : Cherish the World สู่ผลงานนิทรรศการภาพวาดชนะการประกวดประจำปี นำโดยผลงาน หนึ่งเดียวกัน ภาพวาดจาก จรัญ พานอ่อนตา ศิลปินช้างเผือกประจำปีนี้


Credit:
Photos: Courtesy of Bangkok Art and Culture Centre (BACC)


อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆ ได้บน Padthai.co

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn
On Key

Related Posts

“VIJIT CHAO PHRAYA 2024”

VIJIT CHAO PHRAYA 2024

Post Views: 12 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เตรียมความพร้อมด้านการท่องเที่ยวไทยในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 จัดงาน “VIJIT CHAO PHRAYA 2024 กระทรวงการท…

Tarot 17 nov

Your Tarot Weekly

Post Views: 21 คำพยากรณ์รายสัปดาห์ระหว่างวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน – วันเสาร์ที่​ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 โดย​ มาดามราเชล วันอาทิตย์ นิสัย​ของดาว : ยศ…

Penthouse Bar + Grill at Park Hyatt Bangkok

Post Views: 6 เพนท์เฮาส์ บาร์ แอนด์ กริลล์ ณ โรงแรมพาร์ค ไฮแอท กรุงเทพฯ เปิดตัวประสบการณ์แฮงค์เอ๊าท์ ‘Reimagined’ สุดเอ็กซ์คลูซีฟ Penthouse Bar + Gril…

Your Tarot Weekly

Post Views: 48 คำพยากรณ์รายสัปดาห์ระหว่างวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน – วันเสาร์ที่​ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 โดย​ มาดามราเชล วันอาทิตย์ นิสัย​ของดาว : ยศ…

Holiday Season – Sunny Fredland

Post Views: 12 ฉลองช่วงเวลาแห่งความสุขสุดพิเศษไปกับ Sunny Fredland Fred (เฟร็ด) เชิญสัมผัสประสบการณ์ในช่วงเทศกาลวันหยุดที่เปล่งประกายด้วยความสดใสจากกา…