‘The Way We Were’


ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ภูมิใจเสนอ The Way We Were นิทรรศการกลุ่มที่จะพาผู้ชมทุกท่านค้นพบว่าแท้จริงแล้วศิลปะนั้นเป็นสื่อสากล ไม่ว่าจะถูกสร้างสรรค์หรือถักทอขึ้นอย่างไรในรูปแบบไหนก็ล้วนมีความหมายอันลึกซึ้ง


ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ภูมิใจเสนอ The Way We Were นิทรรศการกลุ่มที่จะพาผู้ชมทุกท่านค้นพบว่าแท้จริงแล้วศิลปะนั้นเป็นสื่อสากล ไม่ว่าจะถูกสร้างสรรค์หรือถักทอขึ้นอย่างไรในรูปแบบไหนก็ล้วนมีความหมายอันลึกซึ้ง

“The Way We Were” หมายถึงตัวตนที่เราเป็นอยู่ หรือในที่นี้อาจหมายถึงความเป็นศิลปินในตัวของทุกคน แม้แตกต่างกันในเนื้อหา วิธีการ และการสื่อถึงความรู้สึก แต่เมื่อรวมกันแล้วมันคือการสร้างสรรค์ที่ถักทอออกมาด้วยความจริงใจ โดยนิทรรศการในครั้งนี้ถ่ายทอดเรื่องราวของทั้ง 31 ศิลปินที่จะพาทุกท่านไปพบกับแต่ละตัวตนของผู้สร้างศิลปะที่ร่วมมือกันสร้างสรรค์ความมหัศจรรย์

“ดนตรีและศิลปะ คือ สื่อสากลที่ไม่จำเป็นต้องถามถึงแหล่งที่มา เพียงได้ฟังได้ชมก็ประทับใจ ถูกจริตจึงค้นหาว่าผู้ใดเป็นผู้แต่งหรือผู้ผลิตผลงานนั้น ๆ คนเดินดินก็เช่นกัน ไม่ว่าชาติไหน ถ้าไม่บอกว่ามีอาชีพใดหรือเก่งกาจทางด้านไหนก็เป็นเพียงแค่คนธรรมดา รูปสวยก็ชม รูปชั่วก็ชัง แต่หากพวกเขาสร้างสรรค์สื่อสากลที่สามารถแสดงถึงศักยภาพ การมีค่าหรือมีตัวตนขึ้นมา การตัดสินคนจากภายนอกก็จะอันตรธานหายไปสิ้น 

เรา… กลุ่มศิลปินหลายหลากชาติพันธุ์จึงมารวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์สื่อสากลที่เรียกว่า ‘ศิลปะ’ โดยมิยึดติดกับตัวตนและแหล่งที่มาของตน มาเป็นเพื่อนกัน รักกัน โดยมี ‘ศิลปะ’ เป็นสิ่งเชื่อมโยง”

– ประทีป คชบัว 

เกี่ยวกับศิลปิน

นิทรรศการครั้งนี้ประกอบด้วยศิลปินกว่า 31 ท่าน มาร่วมถักทอ สร้างสรรค์สิ่งที่พวกเขาว่า “ศิลปะ” โดยไม่ยึดติดกับตัวตนและแหล่งที่มา

1. Kuan Yu, Huang (Taiwan)

2. Chris Sedlaczek (Austria)

3. Dominique Fontaine (France)

4. กฤช สุรเจริญใจ

5. จิรโรจน์ ศรียะพันธุ์ 

6. ชัชวาล รอดคลองตัน

7. อชิรวิทย์ สามารถ(แดเนียล)

8. ธวัชชัย หอมทอง

9. ธีธัช ธนโชคทวีพร 

10. นริศรา คำสุพรหม

11. นัยสิทธิ์ วงษ์เกลียวเรียน

12. นิพนธ์ จังกินา

13. นฤพนธ์ ชุติวรรณโสภณ

14. ประทีป คชบัว

15. พลัง พละมาตร์

16. พลุตม์ มารอด

17. ชัยยันต์ จง จงประเสริฐ

18. ไมตรี หอมทอง

19. รัชพล กรชนาพงศ์

20. วัชระ กล้าค้าขาย

21. วิษณุพงษ์  หนูนันท์

22. ศุภฤดี มณีจันทร์

23. ศรีศิลป์ เอมเจริญ

24. สุพร แก้วดา

25. อนุวัฒน์ สิริรัตนจิตต์

26. อัญชนา นังคลา

27. อัครวุทธ โรจน์อังคณาวุฒิ

28. วัชิรวิทย์ สามารถ(อามานี่)

29. อิศรา เถาทอง

30. Niels Damsgaard Hansen (Denmark)

31. Lulu Thuesen (Denmark)

1. หวง ควนยู (เนโกะ) (Taiwan) 琯予 黃

หวง ควนยู (เนโกะ) คือศิลปินชาวไต้หวันผู้หลงใหลในความรื่นรมย์ของธรรมชาติ ทั้งความเขียวขจีของต้นไม้และทะเลสาปสีครามในยุโรปกลาง โดยศิลปินได้ถ่ายทอดความชื่นชอบเหล่านี้ลงไปบนภาพผลงานภูเขาที่ถูกปกคลุมไปด้วยหิมะซึ่งสะท้อนความสวยงามไปยังทะเลสาปอีกครั้ง

2. Chris Sedlaczek (Austria)

ผลิตภาพถ่ายอันประณีตในจำนวนจำกัด ภาพถ่ายขนาดใหญ่ของเขาสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความเป็นจริงของพืชพรรณกับการรับรู้และจินตนาการของเขา ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย ผลงานทั้งหมดได้รับการดูแลจัดการอย่างเชี่ยวชาญโดยใช้แสง เงาและสีที่ละเอียดอ่อน รายละเอียดที่ไม่มีที่สิ้นสุดดึงดูดความสนใจของผู้ชม เศษส่วนที่อยู่ไกลและใกล้ถูกประกอบเข้าด้วยกัน ร่องรอยของเงาถูกทำให้สว่างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนจินตนาการของเขาเกี่ยวกับทิวทัศน์ที่บันทึกไว้ในที่สุด 

Chris Sedlaczek เป็นช่างภาพที่มีความชำนาญในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายสุดปราณีตซึ่งเป็นผลงานเอกที่มีจำนวนจำกัด เขาสร้างความเชื่อมโยงในช่องว่างระหว่างความเป็นจริง การรับรู้ และจินตนาการอันเป็นเอกลักษณ์ผ่านภาพถ่ายขนาดใหญ่ของเขา ปัจจุบันคริสอาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย ที่ซึ่งเลือกเป็นสถานที่สำหรับการดูแลจัดการผลงานของเขาอย่างพิถีพิถัน โดยใช้แสง เงาที่ละเอียดอ่อน และชุดสีที่หลากหลายเพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ชม องค์ประกอบในภาพถ่ายของคริสส่วนใหญ่มักนำความแตกต่างของจุดห่างไกลและใกล้มาบรรจและผสมผสานกันอย่างลงตัวเพื่อสร้างความกลมกลืน นอกจากนี้ยังมีการใช้เงาเพื่อนำเสนอมิติของฉากที่ถูกถ่ายออกมาอย่างละเอียดเลนส์ของเขาอีกด้วย

“ฉันไม่สนใจความเป็นจริง สิ่งที่น่าทึ่งสำหรับฉันคือสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถจินตนาการได้ต่างหาก”

3. Dominique Fontaine

Dominique Fontaine เป็นศิลปินชาวฝรั่งเศสจากเมืองโดวิลล์ ที่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางทางศิลปะของเธอ ในขณะกำลังศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะที่ Crear ในปารีส เธอบังเอิญได้ศึกษาหลักสูตรภาพยนตร์แนว Expressionist ของชาวเยอรมัน ซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในผลงานของเธอในปัจจุบัน หลังจากสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1990 โดมินีคก็ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ที่เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และขณะที่กำลังนั่งอยู่ในอพาร์ทเมนต์ที่ใช้ถ่านหินอุ่นขนาดพอเหมาะเพื่อสร้างความอบอุ่นอยู่ใน จู่ ๆ เธอก็จุดประกายไอเดียอันเป็นเอกลักษณ์ขึ้นมา ซึ่งก็คือการใช้ ‘สารสิ่งตกค้าง’ มาใช้เป็นสื่อเพื่อทำผลงานศิลปะนั่นเอง

โดมินีคเริ่มต้นอาชีพการเป็นศิลปินของเธอได้อย่างน่าทึ่ง ผลงานของเธอได้รับการจัดแสดงในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม ญี่ปุ่น และล่าสุดในประเทศไทย นอกจากนี้ หนึ่งในผลงานภาพวาดของเธอยังถูกเลือกให้จัดแสดงถาวรที่พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ในเมืองออสเทนด์ ประเทศเบลเยียม และผลงานภาพวาดของเธออีกสามชิ้นก็ถูกเลือกให้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์อันดามัน ณ จังหวัดกระบี่ อย่างภาคภูมิใจอีกด้วย

4. กฤช สุรเจริญใจ

“ผู้หญิง คือผู้อ่อนโยนแต่ทรงอำนาจ”

5. จิรโรจน์ ศรียะพันธุ์ 

จิรโรจน์ ศรียะพันธุ์ มากจากจังหวัดสงขลาในภาคใต้ของประเทศไทย ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนศิลปะอยู่ที่มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา เขาจบปริญญาตรีจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และปริญญาโท-เอก จากมหาวิทยาลัยศิลปากร อีกทั้งยังได้รับเกียรติประวัติเหรียญเงิน จิตรกรรมการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 63 และเหรียญทองแดง ครั้งที่ 64 และ 66 รางวัลดีเด่นศิลปกรรมพานาโซนิคร่วมสมัย ครั้งที่ 18 และได้รับการคัดเลือกจากผู้มีผลงานสร้างสรรค์ดีเด่น ครุศิลป์ 11 ให้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีแนวความคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบรรยากาศของสี ลวดลาย ที่มาจากศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยสิ่งเหล่านี้จะถูกแทนค่าด้วยจุด เส้น สี รูปร่าง-รูปทรง เพื่อที่จะแสดงออกถึงความสดใสของสีสันที่มีความสอดคล้องกับพื้นที่ในภาคใต้ของประเทศไทย

6. ชัชวาล รอดคลองตัน

สิ่งหนึ่งที่อยู่กับเรามาตั้งแต่เกิดคือ ‘ความตาย’ มนุษย์จากทุกชนชั้น เชื้อชาติ สัญชาติ และศาสนาต่างพากันออกไป ร่างกายนี้เป็นเพียงที่อยู่อาศัยเท่านั้น ละทิ้งภาพลวงตา ยอมรับ และค้นพบความจริงแห่งหนทางแห่งความดับทุกข์ พบความจริงแล้วหลุดพ้นจากทุกข์

7. อชิรวิทย์ สามารถ (แดเนียล) 

อชิรวิทย์ สามารถ ศิลปินหนุ่มน้อยอายุ 17 ปี ผู้เริ่มทำงานในวงการศิลปะแล้ว 7 ปี โดยความโดดเด่นในผลงานของเขาคือความคิดสร้างสรรค์และการผสมผสานกับศิลปะยุคใหม่ที่สอดคล้องกับความรู้สึกและความประทับใจที่กลั่นกรองมาจากความชื่นชอบการในการทดลองเทคนิคหลายรูปแบบโดยใช้จินตนาการมาสร้างสรรค์ใหม่โดยไม่มีขีดจำกัด

8. ธวัชชัย หอมทอง

การมองธรรมชาติ คือการเสริมสร้างพลังแห่งสุข สงบ และเบิกบาน มันคือพลังแห่งความหวัง ความมุ่งมั่นให้แก่จิตใจเพื่อต้อนรับประกายแสงแห่งชีวิตใหม่ในแต่ละวัน

9. ธีธัช ธนโชคทวีพร (TETAT)

ธีธัช ธนโชคทวีพร หรือ TETAT เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อ ปี พ.ศ. 2519 เขาเริ่มต้นการเดินทางในวงการศิลปะผ่านการสำรวจสไตล์ต่าง ๆ มากมายตั้งแต่การวาดภาพเหมือนไปจนถึงแก่นของอิมเพรสชั่นนิสม์ ในปัจจุบัน เขามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์งานในสไตล์ “Neo-Surrealism” ซึ่งเป็นศิลปะเซอร์เรียลอีกรูปแบบหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2549 เขาได้ส่งผลงานของตัวเองเข้าร่วมการแข่งขัน International Biennial Print and Drawing ซึ่งชิ้นงานของ TETAT ก็ถูกเลือกให้นำไปจัดแสดงที่ National Gallery of Art ในประเทศไต้หวัน และการได้รับเกียรตินี้ก็กลายมาเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการพัฒนาผลงานของเขาต่อไป อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2559 ก็เกิดเหตุการณ์ชะตากรรมพลิกผันเมื่อพ่อของ TETAT ล้มป่วยอย่างหนักและเสียชีวิตลงในที่สุด ผลกระทบที่ได้รับจากเหตุการณ์สำคัญนี้จึงส่งผลให้งานศิลปะของเขามีความลึกซึ้งและหนักแน่นมากยิ่งขึ้น

ในปี พ.ศ. 2560 TETAT ได้สร้างผลงานชื่อ “Dialogue of Memory / Last Station” ซึ่งเป็นชิ้นงานที่มีขนาดชิ้นใหญ่ที่สุดที่เขาเคยสร้างมา ด้วยความยาวรวมประมาณ 600 เซนติเมตร โดยผลงานนี้ได้รับการยอมรับและก็ได้ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในชิ้นงานที่ได้จัดแสดงอย่างถาวรใน 129 Art Museum ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ผลงานที่มีชื่อว่า “Mood Selection” ของเขาซึ่งมีความยาว 200 เซนติเมคร ก็ได้รับเลือกให้จัดแสดงในโรงแรม Mercure Hotel Frankfurt Airport Langen ประเทศเยอรมนี และได้ถูกนำไปจัดแสดงต่อในงานของ Slowart ที่ร่วมกับ Limner Gallery ในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2565 TETAT ยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมเทศกาลศิลปะระดับนานาชาติในเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในงาน Le Salon Comparaisons อีกด้วย ในฐานะศิลปินที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ TETAT ก็ยังคงตั้งใจที่จะสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานของเขาอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายขอบเขตความสามารถทางศิลปะของเขาต่อไป

10. นริศรา คำสุพรหม

นริศรา คำสุพรหม เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานแนวนามธรรม โดยอิงการตัดทอนหรือลดรูปทรงนั้น ๆ ไปให้หมดสิ้น แล้วใช้สีต่าง ๆ เพื่อให้มีผลกระทบต่อจิตใจและความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ด้วยการวางโครงสีและรูปทรงใหม่ ๆ ที่กระตุ้นความรู้สึกของการต้องการเชยชมความงดงามตามอารมณ์ของมนุษย์

11. นัยสิทธิ์ วงษ์เกลียวเรียน

'The Way We Were'

นัยสิทธิ์ วงษ์เกลียวเรียน มีความสุขทุกครั้งที่ได้ถ่ายทอดความเป็นไทยลงในผลงานของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้มีโอกาสได้สัมผัสศิลปะและเรื่องราวเทพปกรนัมจากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก (โดยเฉพาะญี่ปุ่น) ทำให้เขาเกิดแรงบันดาลใหม่ ๆ มากมายที่ทำให้เขาอยากสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้แรงบันดาลใจเหล่านี้และพยายามพัฒนางานให้มีความเป็นสากลมากขึ้น

12. นิพนธ์ จังกินา

ศิลปะมีหลากหลายแนวและรูปแบบแต่การทำงานศิลปะที่ นิพนธ์ จังกินา ชื่นชอบและทำให้รู้สึกมีความสุขไปกับมันคือการทำงานที่เกี่ยวกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เปรียบมนุษย์เหมือนดอกบัวสี่เหล่า ซึ่งพิจารณาดูแล้วก็เป็นเช่นนั้นจริง

13. นฤพนธ์ ชุติวรรณโสภณ

นฤพนธ์ ชุติวรรณโสภณ ทำงานศิลปะและมีผลงานเผยแพร่ออกสู่สาธารณะมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนปัจจุบัน ได้มีโอกาสจัดแสดงผลงานศิลปะเดี่ยวถึง14 ครั้งและร่วมแสดงผลงานกลุ่มต่าง ๆ อีกมากมาย โดยผลงานของเขาจะเล่าถึงเรื่องความเชื่อทางศาสนาในเรื่องของ “สภาวะจิต” เสียส่วนใหญ่ เขามีความสุขกับการทำงานศิลปะและยังคงสร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ ผลงานของเขาจึงเคลื่อนไหว คลี่คลาย และมีพัฒนาการอยู่เสมอไปตามวุฒิภาวะ และเมื่อมีโอกาส เขาก็จะนำผลงานออกมาจัดแสดงเพื่อเผยแพร่ พบปะ แลกเปลี่ยน และค้นหาสาระต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาผลงานศิลปะต่อไป  

14. ประทีป คชบัว 

“รูปทรงอิสระ กับรูปทรงสรรสร้าง

ผสมผสานกันลื่นไหลไปเป็นราชสีห์เจ้าป่า

มายาแห่งอำนาจ หรือ เนื้อแท้แห่งตัวตน”

15. พลัง พละมาตร์

พลัง พละมาตร์ คือนักเขียน S.E.A. Write Writer ผู้ใช้ชีวิตผลุบโผล่อยู่ท่ามกลางทุ่งอักษร แบกคลอนความฝันและป่าวร้องกับใครต่อใครว่า “ปากกา ดินสอ พู่กัน” เธอเห็นมันในมือฉันหรือเปล่า ดูสิ ใครจะเชื่อว่าสามสิ่งนี้ วันหนึ่งจะกลายเป็นกุญแจ เปิดประตูออกไปข้างใน ไขเข้าข้างนอก นี่เธอ ๆ … ภาพ วิญญาณขันธ์ ทุกชีวิตมีสิ่งนี้ เครื่องมือลึกลับอย่างหนึ่ง มีหน้าที่เฝ้ามองตัวมันเอง โดยไม่อาจปริปาก ภาพ สัญญาขันธ์ ความทรงจำ ดุจแผ่นดินเก่าโทรมที่ถูกเรียกขานซ้ำ ๆ ด้วยนามอันแสนคุ้นเคย ผู้คนใช้ชีวิตแบบเดิมซ้ำซาก หรือใช้ชีวิตแบบใหม่ ก็เป็นแบบใหม่ที่ซ้ำซาก ล้วนตกอยู่ท่ามกลางวงเวียนแห่งการใช้ซ้ำ

16. พลุตม์ มารอด

'The Way We Were'

พลุตม์ มารอด เป็นศิลปินที่ทำงานศิลปะแนวจิตรกรรมร่วมสมัยมาแล้วกว่า 25 ปี ผลงานของเขามีการแปรผันไปตามประสบการณ์ที่เข้ามา การกระทบความคิดและความรู้สึก มีความสนใจ หลากหลาย อีกทั้งยังชื่นชอบการทดลองเทคนิคให้สอดคล้องกับแนวคิดในช่วงเวลานั้น ๆ ไม่ยึดติดกับรูปแบบและวิธีการในการสร้างผลงานอย่างไม่รู้จบ

17. ชัยยันต์  จงจงประเสริฐ

“ศิลปะแฝงเร้นกายอยู่รายล้อมรอบ ๆ ตัวมนุษย์เรา ส่งผลและมีอิทธิพลต่อการดํารงอยู่ในหลากหลายมิติ”

18. ไมตรี หอมทอง

ศิลปินมากความสามารถผู้แสดงนิทรรศการศิลปะเดี่ยวมาแล้ว 20 ครั้ง อีกทั้งยังได้มีโอกาสจัดแสดงผลงานในนิทรรศการศิลปะที่ต่างประเทศมาแล้วกว่า 15 ครั้ง

19. รัชพล กรชนาพงศ์

รัชพล กรชนาพงศ์ มองเห็นความงามของหญิงสาวที่สิงสถิตอยู่ในผืนผ้าใบของเขาทุกผืน เพียงแค่ทำให้ภาพในความคิดของเขานั้นชัดเจนขึ้นด้วยการแต่งแต้มเติมสีลงไปบนผ้าใบ จนหญิงสาวที่เขาเห็นในความคิดนั้นดูมีชีวิตขึ้นมาจากผืนผ้าใบสีขาว ๆ

'The Way We Were'

20. วัชระ กล้าค้าขาย

 “ผู้หญิงคือสิ่งที่สวยงามที่สุดในโลก”

21. วิษณุพงษ์ หนูนันท์ 

สิ่งสมมุติที่เชื่อว่ามีอยู่จริง เพราะการเชื่ออย่างเดียวอาจไม่พอ การกระทำที่แสดงออกถึงความเชื่อจึงยิ่งใหญ่กว่ามาก ครั้งหนึ่งศิลปะก็เคยรับใช้ศาสนา กระทั่งมันรับใช้ตัวมันเอง ศิลปะจึงกลายเป็นศาสนาใหม่ที่แข็งแรงเกินกว่าจะไม่เชื่ออีกต่อไป เพราะเรื่องโกหกที่ถูกพูดซ้ำ ๆ ให้จริงจากปากผม ผมจึงต้องทำงานศิลปะซ้ำ ๆ เพื่อไถ่บาปและพระองค์ทรงอยู่ข้างหลังนั้น เพื่อให้ผมไม่ตายไปอย่างคนไม่เคยเกิดมา

แม้เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ผมเคยได้เรียนในโรงเรียนคริสต์ แต่ภาพนี้ก็ได้ปรากฏบนด้านหลังของผลงานและในใจของผมเมื่อนานมาแล้ว ในช่วงแรกเริ่มของการเป็นศิลปิน เฟรมที่ถูกทิ้งพิงผนัง ถูกทำให้คิด ศิลปะไม่มีถูกไม่มีผิด แต่เมื่อมันไม่มีที่ไป ไร้คนศรัทธา เมื่อถูกปฏิเสธ มันจึงต้องเริ่มต้นใหม่บนโครงเฟรมไม้เดิม ๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า และมันคงเป็นสิ่งเดียวเป็นที่พอจะยึดเหนี่ยวจิตใจดวงนี้ได้ ผมจึงตรึง เก็บมันเอาไว้ และไม่ว่าจะต้องเริ่มต้นการวาดรูปใหม่อีกกี่ครั้ง อย่างน้อยมันก็แสดงออกถึงการกระทำที่ยิ่งใหญ่กว่า ‘ความเชื่อ’

22. ศุภฤดี มณีจันทร์

'The Way We Were'

ศุภฤดี มณีจันทร์ คือศิลปินอิสระผู้มีความสนใจในงานศิลปะทั้งภาพ ทิวทัศน์ ภาพเหมือน และแนวการ์ตูน โดยพยายามสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานให้มีความเป็นเอกลักษณ์ในรูปแบบของตัวเอง ซึ่งเต็มไปด้วยความสนุก สดใส และร่าเริง โดยเธอหวังที่จะสร้างความสุข สนุก และจินตนาการให้กับผู้ชมทุกท่านที่ได้เห็นผลงานของเธอ

23. ศรีศิลป์ เอมเจริญ

ศรีศิลป์ เอมเจริญ มีแรงบันดาลใจในการทำงานศิลปะจากการรายล้อมตนเองด้วยสิ่งแวดล้อมที่อุดมไปด้วยธรรมชาติที่สะอาดบริสุทธิ์ เรือกสวนไร่นา แม่น้ำ ลำคลอง ต้นไม้ดอกไม้ที่สวยงาม ทำให้ชื่นชอบในการเขียนทิวทัศน์ในสถานที่ต่าง ๆ จึงต้องการถ่ายทอดในเรื่องของความงามของธรรมชาติด้วยการใช้เกรียงวาดเพื่อให้ได้ความรู้สึกที่หนักแน่นและชัดเจน

24. สุพร แก้วดา 

เพียงชั่วขณะหนึ่ง แสงแดดสุดท้ายบนผิวคลื่นน้ำเบา ๆ คือแรงบันดาลใจสื่อความหมาย จะขึ้นจะลง จะหนัก จะเบา ก็เป็นแค่เพียงสภาวะไม่ยึดไม่หลง มันเพียงพอแล้วเพราะทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์

25. อนุวัฒน์ สิริรัตนจิตต์

'The Way We Were'

อนุวัฒน์ สิริรัตนจิตต์ ชื่นชอบการวาดรูปตั้งแต่เด็ก ๆ และฝึกฝนจนกลายเป็นอาชีพที่ทำมาตลอด โดยเขาได้เริ่มจัดแสดงผลงานศิลปะตั้งแต่ปี 2011 มาจนถึงปัจจุบัน เพราะสำหรับเขาแล้วนั้น ศิลปะคือประสบการณ์ การศึกษาศิลปะด้วยตนเองจึงต้องอาศัยความสนใจสนใจ สีสัน การชื่นชมงานสร้างสรรค์ของธรรมชาติ และรูปแบบความคิดอันอิสระที่นำไปสู่การรับรู้เชิงนามธรรม

26. อัญชนา นังคลา

อัญชนา นังคลา เป็นที่รู้จักจากจิตรกรรมภาพเขียนดอกไม้โดยศิลปินผู้มีแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติและความแตกต่างของชีวิต โดยความหลงใหลในดอกไม้ของเธอเกิดจากประสบการณ์และความผูกพันธ์กับดอกไม้มาอย่างยาวนาน ผลงานของเธอเต็มไปด้วยดอกไม้หลากสี มีความพิเศษจากการเลือกใช้สีสันที่จัดจ้านและการเลือกใช้สีคู่ตรงข้ามมาวางไว้ใกล้กัน การรักษาจังหวะ ความสมดุลให้สีเหล่านั้นกลมกลืนร่วมกันได้อย่างสวยงามสะกดสายตา สีที่ตัดกันไปมาในผลงานของเธอจึงสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวและภาพจำในผลงานของเธอได้เป็นอย่างดี

27. อัครวุทธ โรจน์อังคณาวุฒิ

'The Way We Were'

อัครวุทธ โรจน์อังคณาวุฒิ คือศิลปินรุ่นใหม่ไฟแรงน่าจับตามองที่มีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่องและได้จัดแสดงผลงานในนิทรรศการครั้งสำคัญมากมายระดับประเทศ อีกทั้งเขายังเป็นศิลปินไทยเพียงคนเดียวที่เข้าร่วมแสดงงานนิทรรศการศิลปะ “GENESI” โดยผลงานของเขาได้ถูกจัดแสดงบนบิลบอร์ดขนาดยักษ์ที่ Times Square ในนครนิวยอร์ก นอกจากนี้ เขายังมีผลงานที่ถูกจัดแสดงอยู่บนบิลบอร์ดมากมายในกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็น Park Silom, ICS, ICONSIAM และ Siam Paragom อีกด้วย

“ผมเป็นศิลปิน 24 ชั่วโมง ถ้ายังมีลมหายใจ

มีหมึกดำที่สาดกระเซ็นตามตัวเป็นปกติ

ผลงานศิลปะของผมส่งผมเข้านอนและปลุกผมให้ตื่นในทุก ๆ วัน   

ศิลปะเป็นเหมือนเครื่องมือขัดเกลาจิตใจเพื่อเข้าถึงความว่างเปล่า 

หมดสิ้นจากการปรุงแต่งของความคิด”  

28. วชิรวิทย์ สามารถ

วชิรวิทย์ สามารถ ศิลปินหนุ่มอายุ 18 ปี ผู้เริ่มต้นทำงานศิลปะมาแล้วกว่า 13 ปี ผลงานของเขาอุดมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ผสานกับศิลปะไทยประยุกต์ที่มีความทันสมัยและแปลกใหม่ ทำให้เกิดเป็นผลงานศิลปะไทยร่วมสมัยที่แสดงจินตนาการและความรู้สึกผ่านผลงานศิลปะ นอกจากนี้ เขายังชอบเรียนรู้ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ผ่านผลงานศิลปะที่ไม่มีขีดจำกัดอยู่เสมอ

29. อิศรา เถาทอง

ดัดแปลงเทคนิคเก่าผสมผสานกับการวาดเส้นด้วยเรื่องราวในวัยเด็กที่ได้รับผ่านการเรียนรู้ แล้วกลั่นกรองให้ออกมาอย่างมีความสุข

30. Niels Damsgaard Hansen

การเติบโตขึ้นในชานเมืองโคเปนเฮเกนของ นีลส์ ดัมสการ์ด แฮนเซ่น เป็นบทเริ่มต้นที่จุดประกายความหลงใหลในความคิดสร้างสรรค์ที่อยู่ควบคู่กับเขาไปตลอดชีวิต ในวัยเพียง 15 ปี นัลส์และเพื่อน ๆ ได้ร่วมมือกันทำการแสดงแสงสีอันน่าหลงใหลในคอนเสิร์ตที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ทางดนตรีให้กับผู้ชม โดยหนึ่งสิ่งในการแสดงที่น่าตื่นตาใจก็คือภาพถ่ายของเขาผสมผสานไหวพริบส่วนตัวเข้ากับการแสดงภาพไปในขณะเดียวกัน จนในที่สุด ความหลงใหลในศิลปะนี้ก็ได้ผลักดันให้นีลส์เข้าศึกษาศาสตร์ของศิลปะและทำความรู้จักกับศิลปินมากมาย

หลังจากที่ได้แสดงผลงานของตนเองในนิทรรศการที่มีการเซ็นเซอร์ นีลส์ก็เลือกแสวงหาชีวิตที่เรียบง่ายยิ่งขึ้นโดยการเป็นชาวนาในชุมชนเล็ก ๆ และได้ผขญภัยบนเส้นทางของศิลปะเป็นเวลากว่า 15 ปี อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2530 ที่นีลส์ได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยียนประเทศไทย เขาก็ได้บังเอิญพบกับศิลปินไทยมากความสามารถมากมายที่จุดประกายความสามารถทางศิลปะของเขาอีกครั้ง ตั้งแต่นั้นมา นีลส์ก็หันมาสนใจการถ่ายภาพ จิตรกรรม กวีนิพนธ์ และรวมไปถึงผลงานเขียนมากมายจนถึงปัจจุบัน

31. ลูลู่ ทูเซ่น

ลูลู่ ทูเซ่น เติบโตขึ้นที่ชานเมืองโคเปนเฮเกนในครอบครัวสนอกสนใจในศาสตร์ของศิลปะเป็นอย่างมาก แม่ของเธอเป็นจิตรกรและนักวาดภาพประกอบมากฝีมือ ส่วนพ่อชำนาญการแล่นเรือใบ โดยเขามักจะพานักตกปลาและลูก ๆ แล่นเรือไปยังน่านน้ำ Oresund ซึ่งแยกประเทศเดนมาร์กและสวีเดนออกจากกัน หลังจากทำงานกับพ่อของเธอได้สองสามปี ลูลู่กับเพื่อน ๆ ก็ออกโลดแล่นไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกบนเรือที่พวกเขาช่วยกันสร้างขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการผจญภัยของเธอจะสนุกสนานและยิ่งใหญ่เพียงไหน หัวใจของลูลู่ก็ยังคงเรียกร้องถึงงานศิลปะ ในวัยเกษียนนี้ เธอจึงหวนคืนสู่ความชื่นชอบที่ผูกพันในวัยเด็กของเธออีกครั้งกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ โดยผลงานของเธอส่วนใหญ่จะเป็นภาพทิวทัศน์ที่มีสีสัน หน้ากาก และแมลงที่ถูกเสริมเติมแต่งตามสไตล์ของเธอเองเพื่อให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมไปกับการตีความในผลงานของเธอ และวัสดุที่เธอมักใช้ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าใบ กระดาษ สีน้ำมัน สีน้ำ ดินสอ และสีเทียน

พบกับ “The Way We Were” นิทรรศการศิลปะจากเหล่าศิลปินผู้มากความสามารถ เปิดให้เข้าชมฟรีตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม – 23 มิถุนายน 2567 ที่ RCB Galleria 4 ชั้น 2 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก


CREDITS:
PHOTOS: COURTESY OF
RIVERCITY BANGKOK


สามารถติดตามคอนเทนต์อื่นๆ ที่น่าสนใจได้ ที่นี่

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn
On Key

Related Posts

14 BEST BIRTHDAY PERFUME

Post Views: 17 แชร์ลิสต์ 14 น้ำหอมเสริมดวงตามวันเกิด อัพความปัง เสริมเสน่ห์ให้พุ่งทะลุเพดาน จะเก็บไว้เป็นเช็คลิสต์เพื่อช้อปน้ำหอมขวดใหม่ให้ตัวเองหรือเ…

Mystical-Tarot-

Your Tarot Weekly

Post Views: 111 คำพยากรณ์รายสัปดาห์ระหว่างวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม– วันเสาร์ที่​ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 โดย​ มาดามราเชล วันอาทิตย์ นิสัย​ของดาว : ยศศักด…

100 Years of Trinity: Celebrating Cartier’s Iconic Collection

Post Views: 81 คาร์เทียร์ฉลองครบรอบ 100 ปีของคอลเลกชัน Trinity ด้วยการเดินทางแสนพิเศษผ่านนิทรรศการอิมเมอร์ซีฟ ณ ประเทศสิงคโปร์ Cartier (คาร์เทียร์) ฉล…

Exploring Perspectives: A Journey Through the Lens at Leica Gallery Frankfurt Germany

Post Views: 81 งานนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ครั้งแรกในระดับนานาชาติ ณ Leica Gallery Fran…