The new timepiece unites a high-precision chronograph with a moon phase display powered by the groundbreaking Duometre technology
Jaeger-LeCoultre เผยโฉมตัวเรือน Duometre Chronograph Moon ในสองรุ่น ผ่านตัวเรือนแพลทตินัมตัดกับหน้าปัดสีทองแดง และตัวเรือนโรสโกลด์ตัดกับหน้าปัดสีเงินอันหรูหราสง่างาม ที่งาน Watches and Wonders 2024 เผยจิตวิญญาณแห่งความคิดสร้างสรรค์อันไม่หยุดยั้งของ Jaeger-LeCoultre สะท้อนปรัชญาของแบรนด์ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ผสานความสวยงามเข้ากับความซับซ้อนทางเทคนิค โดยถือความแม่นยำเป็นหัวใจสำคัญ
ตัวเรือน Duometre ขนาด 42.5 มิลลิเมตร หนา 12.5 มิลลิเมตร สะท้อนความหรูหราร่วมสมัย จากการตีความร่วมสมัยของนาฬิกาพกพาแบบ savonette สร้างสรรค์โดย Jaeger-LeCoultre ในศตวรรษที่ 19 รูปทรงโค้งมน
ให้สัมผัสที่ยอดเยี่ยมทั้งทางสายตาและการสัมผัส (คำว่า savonette ในภาษาฝรั่งเศส แปลตามตัวอักษรว่า แผ่นสบู่ขนาดเล็กที่มีรูปทรงโค้งมน สามารถวางไว้ในฝ่ามือได้) ตัวเรือน Duometre รุ่นนี้ เป็นโครงสร้างที่ซับซ้อน ประกอบด้วยชิ้นส่วนแยกถึง 34 ชิ้น ใช้เทคนิคการตกแต่งพื้นผิวที่หลากหลาย พื้นผิวตัวเรือนผสมผสานระหว่างการขัดเงา การปัดลายเส้นและการพ่นทรายละเอียด (micro-blasted) สร้างมิติของแสงยามขยับข้อมือ
เผยความสง่าสุดคลาสสิกบนหน้าปัดของ Duometre Chronograph Moon โดดเด่นด้วยดีไซน์แบบสามวงย่อยอันเป็นเอกลักษณ์ ด้วยรายละเอียดอันประณีตเสริมความสมมาตรของรูปแบบการแสดงข้างขึ้นข้างแรม รวมเข้ากับหน้าปัดย่อยโครโนกราฟชั่วโมงและนาที ณ ตำแหน่ง 3 นาฬิกา พื้นหลังสีน้ำเงินมีความสมดุลทางสายตาด้วยการแสดงกลางคืนและกลางวัน ซึ่งรวมอยู่ในหน้าปัดย่อยแสดงเวลา ณ ตำแหน่ง 9 นาฬิกา เวลาที่ผ่านไปจะแสดงสูงสุด 12 ชั่วโมง 60 นาที 60 วินาที แม่นยำถึง 1/6 ของ วินาที และสเกลทาคีมิเตอร์ที่ทำเครื่องหมายไว้รอบๆ ขอบหน้าปัดช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถวัดความเร็วตามเวลาที่ใช้ในการเดินทางคงที่ ระยะทางหรือคำนวณระยะทางตามความเร็ว เข็มวินาทีแบบ foudroyante แสดงอยู่ในวงย่อยที่ตำแหน่ง 6 นาฬิกา ขนาบข้างด้วยช่องหน้าปัดแบบพื้นที่เปิดโล่งทั้งสองช่อง เผยให้เห็นกลไกบางส่วน
ตัวแสดงพลังงานสำรองทั้งสอง=6f (สำรองพลังงานได้ 50 ชั่วโมงสำหรับลานและชุดเฟืองแต่ละชุด) แสดงอยู่บนสะพานโค้งด้านละข้างของวงย่อย ลานทั้งสองลานไขลานด้วยเม็ดมะยมเดียว โดยหมุนไปข้างหน้าเพื่อไขลานให้ชุดเฟืองที่ควบคุมการบอกเวลา และหมุนไปข้างหลังเพื่อไขลานให้ชุดเฟืองที่ควบคุมคอมพลิเคชัน
Jaeger-LeCoultre Duometre Chronograph Moon ติดตั้งกระจกหน้าปัดแบบนูนและขอบตัวเรือนโค้งมนอย่างสวยงาม ซึ่งสื่อถึงความหมายตามตัวอักษรได้เป็นอย่างดี แม้กระทั่งเม็ดมะยมก็ได้รับการออกแบบที่มีร่องหยักโค้งมนลึก จับถนัดมือ ขอบของตัวเรือนขัดเงาอย่างประณีต เป็นเพียงส่วนเดียวของตัวเรือนที่มีเส้นสายคม
นาฬิกา Duometre Chronograph Moon ผสานความแม่นยำสูงของโครโนกราฟเข้ากับเสน่ห์ของคอมพลิเคชันทางดาราศาสตร์ ขับเคลื่อนด้วยกลไก Calibre 391 เสนอความแตกต่างที่น่าสนใจระหว่างเข็มโครโนกราฟที่ทำงานรวดเร็ว สามารถจับเวลาได้ละเอียดถึง 1/6 วินาที กับจังหวะของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกทุกๆ 29.53 วัน ด้วยหน้าต่างแสดงกลางวันกลางคืน ผสานความซับซ้อนของโครโนกราฟเข้ากับหน้าแสดงข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์ ซึ่งกลไก Duometre ที่ได้รับสิทธิบัตร เป็นคอมพลิเคชันที่บ่งบอกถึงแนวคิดของความแม่นยำอันยอดเยี่ยม
ส่วนด้านหลังตัวเรือน ฝาหลังทำจากคริสตัลใส เผยให้เห็นกลไกเกือบทั้งหมด เผยความซับซ้อนดึงดูดสายตา ใช้วิธีการตกแต่งแบบ Haute Horlogerie ชั้นสูง ขอบของสะพานกลไกมีการขัดแต่งมุมอย่างคมชัด ผิวพื้นผิวด้านตัดกับพื้นผิวขัดเงา พื้นเพลทหลักมีการขีดลาย perlage สะท้อนแสงกลับขึ้นมาภายในกลไก และใช้สกรูสีน้ำเงินตัดกับโทนสีเงินของโลหะ ช่วยเพิ่มความสวยงามน่ามอง โดยสะพานกลไกเหล่านี้ตกแต่งด้วยลาย Geneva stripes แบบรัศมี ซึ่งเป็นเทคนิคที่ท้าทาย ต้องอาศัยความแม่นยำสูง เนื่องจากต้องตกแต่งชิ้นส่วนทีละชิ้น แต่เมื่อประกอบเสร็จแล้ว ลายจะแผ่กระจายออกมาจากศูนย์กลางของระบบควบคุมเวลาไปยังขอบของกลไกอย่างสมบูรณ์แบบ สามารถกันน้ำได้ 5 บาร์ (ประมาณ 50 เมตร) ประดับคู่สายหนัง
CREDITS:
PHOTOS: COURTESY OF JAEGER- LECOULTRE