Horological Machine N°9 ‘Sapphire Vision’


MB&F เผยเรือนเวลาดั่งขุมพลังเครื่องยนต์ภายในรุ่น Horological Machine N°9 ‘Sapphire Vision’


Horological Machine N°9 (ออโรโอจิคัล แมชชีน นัมเบอร์ 9) เปิดตัวครั้งแรกในปีค.ศ. 2018 หรือเรียกกันด้วยชื่อเล่นว่า HM9 ‘Flow’ (เอชเอ็ม9 ‘โฟลว’) ได้รับแรงบันดาลใจจากสจากการออกแบบแห่งยนตรกรรมและอากาศยานอันโดดเด่นของยุค 1940s และ 50s ด้วยผลลัพธ์ของตัวเรือนจึงสะท้อนความปราดเปรียวอันลื่นไหลแห่งยุคสมัย ผสานเส้นสายตามหลักแห่งกลศาสตร์ 

Horological Machine N°9 ‘Sapphire Vision’

ถ่ายทอดผ่านรูปลักษณ์อันโดดเด่นสะกดสายตา โดย Maximilian Büsser (แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์) ผู้ก่อตั้งแบรนด์ MB&F ได้เล่าเรื่องถึงเครื่องยนต์เป็นดั่งขุมพลังภายใน เอชเอ็ม 9 คือกลไกอันสวยงามที่สุดเท่าที่เคยสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้จึงติดตั้งเครื่องยนต์เอชเอ็ม 9 ภายใต้เรือนเวลา ซึ่งด้านหลังกรุกระจกแซฟไฟร์โปร่งใส คือการถือกำเนิดของผลงานสร้างสรรค์รุ่น HM9 ‘Sapphire Vision’ ในฉายา HM9-SV  

เรือนเวลารุ่น Horological Machine N°9 ‘Sapphire Vision’ ขนาด 57 มม. X 47 มม. x 23 มม. โครงร่างภายนอกของตัวเรือน ทำจากกระจกแซฟไฟร์ประดับกรอบไวท์โกลด์ เยลโลโกลด์และเรดโกลด์ (5+) 18 กะรัต ผสมผสานด้วยโลหะล้ำค่ากับความโค้งและคล้ายกับฟองอากาศ ติดตั้งความแม่นยำด้วยสามส่วนประกอบ ในการผนึกที่ได้สัดส่วนของปะเก็นแบบสามมิติผ่านการจดสิทธิบัตร และกระบวนการหลอมรวมองค์ประกอบสุดไฮเทค บนหน้าปัดตัวเลขและเครื่องหมายอินเด็กซ์บอกเวลาเคลือบสารเรืองแสง Super-LumiNova (ซูเปอร์-ลูมิโนวา) แสดงเวลาชั่วโมงและนาทีบนหน้าปัดแนวตั้ง

Corundum (คอรันดัม) คือ รูปแบบของกระจกแซฟไฟร์คุณภาพระดับอัญมณี เป็นหนึ่งในแร่ที่แข็งที่สุด โดยเป็นรองด้านความแข็งจากวัสดุอื่นๆ เพียงไม่กี่ชนิด เช่น เพชร (ผลึกคาร์บอน) ซึ่งมีอัตราความแข็งที่ 10 บนสเกลโมห์ส (Mohs) ขณะที่คอรันดัมมีความแข็งที่ระดับ 9 โดยความแข็งพิเศษนี้ยังหมายความว่ากระจกแซฟไฟร์ของนาฬิกานั้นทนทานต่อการขีดข่วนได้ดี และสามารถอ่านค่าได้อย่างชัดเจน ผ่านความท้าทายในการขึ้นรูปภายใต้รูปทรงแบบสามมิติอันซับซ้อนในการผลิตขึ้นรูปด้วยเครื่องจักรที่จำเป็นต้องใช้ในการประดิษฐ์รังสรรค์นาฬิกา โดยการเตรียมกระจกสำหรับหนึ่งตัวเรือนของ เอชเอ็ม9-เอสวี นั้นจำเป็นต้องใช้เวลาถึงราว 350 ชั่วโมง ของการบรรจงขึ้นรูปและขัดเงาอย่างพิถีพิถัน

โดยบาลานซ์สองตัวเผยโฉมอย่างอิสระที่นำทางข้อมูลไปสู่เฟืองท้าย เปลี่ยนเป็นสองจังหวะการทำงานกลายเป็นชีพจรการแสดงเวลาที่สัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียว ขณะที่เกียร์รูปทรงกรวยมีความแม่นยำและประสิทธิภาพสูง จากพลังงานของเครื่องยนต์และกระแสข้อมูลผ่านมุม 90 องศา เผยการแสดงเวลาที่โดดเด่นและชัดเจน ในด้านกลับกัน แกนร่วมที่ติดตั้งอยู่ด้านใต้บาลานซ์แต่ละตัวนั้น คือตัวขับเคลื่อนที่ประกอบด้วยกังหันคู่ ซึ่งหมุนอย่างอิสระในฐานะองค์ประกอบ

Horological Machine N°9 ‘Sapphire Vision’

รูปลักษณ์ภายนอกเส้นสายของ HM9-SV ก้าวข้ามต้นแบบของผลงานรุ่นก่อนด้วยกฎแห่งพลังของของเหลว ที่คงมีบทบาทสำคัญในงานออกแบบจากวัตถุประสงค์ที่ช่วยให้ตัวเรือนมีความนุ่มนวลและโค้งมนมากขึ้นภายในมุมต่างๆ รวมถึงความโค้งแบบวงกลมของบรรดาเวอร์ชัน โฟลว จากจุดยืนทางเทคนิคนี้ผ่านการทำงานบนมิติต่างๆ จึงจำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อรับกับความแตกต่างด้านคุณสมบัติของวัสดุกระจกแซฟไฟร์  เส้นสายที่ราบเรียบ และคงไว้ด้วยสุนทรียะความสวยงาม จากการออกแบบของ Eric Giroud / Through the Looking Glass

Horological Machine N°9 ‘Sapphire Vision’

เอ็มบีแอนด์เอฟ สร้างความก้าวหน้าล้ำสมัยในเชิงเทคนิคของการควบคุมความเที่ยงตรง จากประสบการณ์ที่สั่งสมและสืบทอดมาจากการสร้างสรรค์ โดยต่อยอดการพัฒนาจากทักษะแห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะ และสามปีของการพัฒนาเครื่องยนต์ จากการคิดค้นและประกอบขึ้นทั้งหมดภายในโรงงานของตนเอง ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาจากกลไกแตกต่างกันถึง 20 คาลิเบอร์ของเอ็มบีแอนด์เอฟ

เครื่องยนต์รุ่น HM 9 นั้นเดินรอยตาม Horological Machines N°4 และ N°6 โดยผสมผสานผ่านการสร้างสรรค์โครงสร้างแห่งกลไก โดยกลไกลจักรกลไขลานด้วยมือ ผลิตจากโรงงานของแบรนด์จากการประกอบเชิงสามมิติของเฟือง เกียร์ แท่นเครื่องและสะพานจักรต่างๆ ภายใต้รูปทรงเหนือความคาดหมาย บรรจุภายในตัวเรือนด้านนอกอันทรงพลัง เป็นดั่งศูนย์รวมชีพจรของชิ้นส่วนจักรกลและภายใต้โครงตัวเรือนผลึกคริสตัล 

ความถี่การทำงานทั่วไปที่ 2.5 เฮิรตซ์ (18,000 ครั้งต่อชั่วโมง) แต่อ่อนไหวต่อแรงสั่นสะเทือนกับอัตราการทำงานที่ต่ำลง ทางแบรนด์จึงทดแทนโดยการใช้บาลานซ์วีลอิสระสองตัว ด้วยสปริงรูปทรงเกลียวที่จัดวางอยู่ระหว่างกลไกและตัวเรือน สปริงนี้รังสรรค์ขึ้นด้วยเลเซอร์จากหลอดแข็งของสเตนเลสสตีลขัดเงา ซึ่งมอบความยืดหยุ่นที่ดีกว่า เพื่อระบบการทำงานของกลไกที่ในการอ่านค่าที่ดีกว่าหนึ่งระบบ มอบผลลัพธ์ที่ต่างไปจากหลากหลายแง่มุม รวมถึงลดโอกาสของการเคลื่อนออกในแนวนอนที่จำกัด 

Horological Machine N°9 ‘Sapphire Vision’

ทำหน้าที่ในการเฉลี่ยการวัดค่าเวลาจากบาลานซ์สปริงคู่ของเครื่องยนต์ เอชเอ็ม9 คือ Planetary Differential  เฟืองท้ายแบบแพลเนตทารีภายในเกียร์บ็อกซ์ของกลไก ซึ่งจะส่งการอ่านค่าสุดท้ายมายังการแสดงบนหน้าปัดเชิงตั้งฉาก โดยการคำนวณทางจักรกลอันซับซ้อนด้วยกระจกแซฟไฟร์โดมโค้งที่จัดวางเหนือบาลานซ์แต่ละตัวด้วยแผ่นขยายที่กองอยู่เหนือเฟืองท้ายแบบแพลเนตทารี ภาพที่มองเห็นจึงตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญในด้านความเที่ยงตรงของกลไก โดยใน เอชเอ็ม9-เอสวี ทุกๆ มุมมองของเครื่องยนต์นั้นได้ถูกเผยออกเพื่อให้ได้ค้นพบจากมุมมองทางสายตาที่สามารถสำรวจถึงความซับซ้อนของชิ้นส่วนต่างๆ นับจากกระปุกลานจนถึงบาลานซ์ จากเฟืองท้ายถึงหน้าปัด พลังงานสำรอง 45 ชั่วโมง ชิ้นส่วน 301 ชิ้น, ทับทิม 52 เม็ด 

ผนึกชิ้นส่วนภายนอกของกระจกแซฟไฟร์ลงในตัวเรือนกันน้ำได้ จึงได้รับการคิดค้นและสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อให้มั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพการกันน้ำ จากตัวเรือนแบบสามส่วนซึ่งหลอมเข้าด้วยกัน ปะเก็น 3-ดี (3-D) จึงนำมาใช้ที่ควบคุมผ่านกระบวนการผลิตภายในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุญญากาศและอุณหภูมิสูง ผลลัพธ์คือสามารถกันน้ำได้ที่ความกดอากาศ 3 ATM (30 เมตร)

เปิดตัวสี่รุ่นแรก โดยแต่ละรุ่นผลิตเพียงห้าเรือน โดยในสองรุ่นมากับกรอบเรดโกลด์ 18 กะรัต ผสมผสานเข้ากับเครื่องยนต์เคลือบ เอ็นเอซี (NAC) สีดำ หรือเคลือบ พีวีดี (PVD) สีน้ำเงิน และอีกสองรุ่นมาพร้อมกรอบไวท์โกลด์ 18 กะรัต ถ่ายทอดด้วยเครื่องยนต์เคลือบ พีวีดี สีม่วง หรือชุบเรดโกลด์ และในปีค.ศ. 2023 นี้มีอีกสองรุ่น คือรุ่นเครื่องยนต์เคลือบ พีวีดี สีน้ำเงิน คู่กรอบไวท์โกลด์ และเครื่องยนต์เคลือบ พีวีดี สีเขียว คู่กรอบเยลโลโกลด์ ตัวเรือนจับคู่สายหนังจระเข้สีน้ำตาลหรือสีดำเย็บตะเข็บมือ ตกแต่งด้วยหัวเข็มขัดบานพับเรดโกลด์ เยลโลโกลด์ และไวท์โกลด์


CREDITS:
PHOTOS: COURTESY OF MB&F

GRAPHIC DESIGNER: Vanicha Limpanastitphon


สามารถติดตามคอนเทนต์ นาฬิกา อื่นๆ ที่น่าสนใจได้ ที่นี่

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn
On Key

Related Posts

Your Tarot Weekly

Post Views: 43 คำพยากรณ์รายสัปดาห์ระหว่างวันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม – วันเสาร์ที่​ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2567 โดย​ มาดามราเชล วันอาทิตย์ นิสัย​ของดาว : ยศศักดิ์…

Your Tarot Weekly

Post Views: 145 คำพยากรณ์รายสัปดาห์ระหว่างวันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม – วันเสาร์ที่​ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 โดย​ มาดามราเชล วันอาทิตย์ นิสัย​ของดาว : ยศศักดิ์…

Siam Paragon BIFW2024 – TandT presented by TAT

Post Views: 31 TandT presented by TAT (ทีแอนด์ที พรีเซนต์เต็ด บาย ทีเอที) ออกแบบโดย ธนาวุฒิ ธนสารวิมล ครีเอทีฟไดเรกเตอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ TandT Tand…

Siam Paragon BIFW2024 – Absolute Siam x Dry Clean Only x AJOBYAJO 

Post Views: 47 Absolute Siam x Dry Clean Only x AJOBYAJO (แอ๊บโซลูท สยาม x ดราย คลีน โอนลี่ x เอโจบายเอโจ) ออกแบบโดย จิรวัฒน์ ธำรงกิตติกุล ครีเอทีฟไดเ…

Siam Paragon BIFW2024 – Lie Sangbong

Post Views: 46 แบรนด์ระดับตำนานจากเกาหลีใต้ Lie Sangbong (ลี ซางบอง) นำเสนอคอลเลกชัน “Coexistence: Architecture & Humanity” แบรนด์ระดับตำนานจากเกา…