นโยบายของการบริหารเมือง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ที่คนกรุงเทพต้องคำนึงถึงก่อนการเลือกตั้งครั้งที่ 11

(ตอนที่ 4)


มารู้จักผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 ท่านแรก ได้แก่ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ น.ต.ศิธา ทิวารี วิโรจน์ ลักขณาอดิศร กับความคิดเห็น และแนวทางในการบริหารเมืองของแต่ละบุคคล


ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์, ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์


  • บริการอินเตอร์เน็ตฟรี เพราะเป็นจุดเชื่อมโยงให้ทุกอย่างเข้าถึงกันอย่างเท่าเทียม
  • วางเป้าหมายการพัฒนากรุงเทพฯ เน้นเมืองทันสมัย เป็นต้นแบบเมืองของอาเซียน
  • เปลี่ยนชีวิตคน….เงินเต็มบ้านงานเต็มเมือง…กองทุนการสร้างงาน มี 2,000 ชุมชน ปีละ 600,000 บาท สามารถจ้างงานได้ถึง 50,000 อัตรา
  • เรื่องสตรี ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กในโรงเรียน โรงเรียนกทม. 437 แห่ง รวมทั้งศูนย์เด็กเล็ก
  • เรื่องผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุกคนคือหุ้นส่วนร่วมพัฒนา เรื่องปัจจัยพื้นฐาน เช่น ทางเท้า รถสาธารณะ ต้องปรับเพื่อผู้สูงอายุ ผู้พิการ เข้าถึงทุกที่อย่างเท่าเทียมกันและปลอดภัย
  • นวัตกรรมของเมืองคือ การตั้งสภาผู้สูงอายุ ที่มีจำนวนมากถึง 1 ล้านกว่าคน มาร่วมกันบริหารจัดการงบประมาณ
  • เรื่องสาธารณสุข เรื่องเด็ก เรื่องการศึกษา จะให้ความสำคัญที่สุด ต้องเพิ่มเงินค่าอาหาร เป็น 40 บาท/คน/วัน เพื่อให้ได้อาหารหลักครบ 5 หมู่
  • เรื่องการคุกคามทางเพศ ต้องประกาศว่า “การล่วงละเมิดทางเพศ เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้เลย ต้องเริ่มที่ กทม.”

ต้องมีบริการอินเตอร์เน็ตฟรี เพราะเป็นรากฐานของความเท่าเทียมกัน เหมือนเมืองอื่นๆ ทั่วโลก อินเตอร์เน็ตคือจุดเชื่อมโยงทุกอย่าง ดังนั้น กทม. ต้องมีอินเตอร์เน็ตฟรี แม้กระทั่งผู้สูงอายุก็ต้องการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ผมไปครบ 50 เขต มีผู้สูงอายุทุกบ้านทุกที่ ไม่ใช่เฉพาะบ้านมีรั้ว คอนโดมีเนียม อพาตเมนท์ ในชุมชน ที่น่าเห็นใจคือผู้สูงอายุต้องอยู่ตามลำพัง ทุกคนกลัวเรื่องเหตุฉุกเฉิน ถ้ามีระบบอินเตอร์เน็ตฟรี ทำให้รายงานเหตุฉุกเฉินได้ทันที วินาทีนึงก็มีค่า

นี่เป็นเหตุผลที่ กรุงเทพฯ ต้องเป็นเมืองที่ทันสมัยเหมือนเมืองอื่นเสียที กรุงเทพฯ เป็นเมืองสวัสดิการที่ทันสมัย เป็นต้นแบบของอาเซียน หลายคนบอกว่าเรียกร้องผู้ว่าฯ มาหลายสมัย จนบางคนก็เสียชีวิตไปแล้ว เพราะเราไม่มีเป้าหมาย ชีวิตต้องมีเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นชีวิตคน องค์กร เมือง หรือประเทศ ต้องมีเป้าหมาย เป้าหมายต้องมองให้สูงไว้

นโยบายของผม “ต้องการเปลี่ยนชีวิตคน…เปลี่ยนเมือง…เปลี่ยนปัญหาซ้ำซาก”

เปลี่ยนชีวิตคน….เงินเต็มบ้านงานเต็มเมือง…กองทุนการสร้างงาน ซึ่งตรงกับข้อเสนอเลย มี 2,000 ชุมชน ปีละ 600,000 บาท สามารถจ้างงานได้ถึง 50,000 อัตรา งานตรงนี้ ผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนได้โอกาสเป็นอันดับแรก เข้ามาช่วยดูแลเด็กเล็ก ดูแลผู้สูงอายุด้วยกัน ดูแลความสะอาดเรียบร้อย ดูแลความปลอดภัย กรุงเทพฯ ไม่เฉา ชีวิตเปลี่ยน…ทำงานแลกเงิน

เรื่องสาธารณสุข เรื่องเด็ก เรื่องการศึกษา ผมให้ความสำคัญที่สุด ผมจะอุดหนุนเด็กตั้งแต่ 0-6 ขวบ ให้เด็กจำนวน 280,000 คน อย่างเสมอภาค เท่าเทียม และถ้วนหน้า ปัจจุบันรัฐบาลดูได้แค่ 80,000 คน อีก 200,000 คน ใช้เงิน 600 บาท/คน รวมเป็นเงิน แค่ 100 กว่าล้านบาทเท่านั้นเอง

ศูนย์รับเลี้ยงเด็กใน กทม. มี 292 แห่ง ผมมีลูกอายุ 3 ขวบ ผมไปถึงอันดับแรก ผมไปอุ้มเด็กในชุมชน ตัวเบาหวิวเลยครับ กินไม่อิ่ม ไม่ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ ก็ กทม. ให้ 20 บาท/คน/วัน แล้วจะกินอะไรได้ล่ะครับ และในหลายศูนย์ที่มีเด็กน้อย เขาทำไม่ได้ทุกวัน เขาต้องส่งนม 24 กล่อง ส่งไข่ 15 ฟอง แสดงว่าเด็กไม่ได้กินทุกวัน ไข่ 15 ฟอง คุณพ่อคุณแม่กินก็หมดแล้ว เราจะดูแลเด็กกันอย่างนี้หรือ

นโยบายของผมต้องเพิ่มเงิน เป็น 40 บาท เพื่อให้ได้อาหารหลักครบ 5 หมู่ อย่างมีคุณภาพ เด็กไทยจะได้ไม่แคระแกรน ไม่เตี้ย โดยเฉพาะพัฒนาการทางสมอง กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว

เรื่องสตรี ที่แต่คนพูด มันต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก เริ่มในโรงเรียน โรงเรียนกทม. 437 แห่ง รวมทั้งศูนย์เด็กเล็ก และในฐานะที่เป็นผู้ว่าฯ กทม. เป็นเจตนารมย์ที่ต้องประกาศว่า “การล่วงละเมิดทางเพศ เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้เลย ต้องเริ่มที่ กทม.”

เรื่องผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผมมองทุกคนคือหุ้นส่วน คนกรุงเทพฯ ต้องเข้ามาร่วมพัฒนาด้วยกัน ผมไปลงพื้นที่ที่ตลาดศรีย่าน ตลาดราชวัตร เขตดุสิต ผู้สูงอายุยังเดินไม่ได้เลย แสดงว่าปัจจัยพื้นฐาน เรื่องทางเท้าก็ไม่เรียบร้อย รถเมล์ก็ยังชานสูงอยู่ การเดินเท้าข้ามถนนยังไม่เรียบร้อย ผมตั้งใจจะดูแลเรื่องนี้ เพื่อผู้สูงอายุ ผู้พิการ ให้เข้าถึงทุกที่อย่างเท่าเทียมกันและปลอดภัยที่สุด

และที่อยากเป็นนวัตกรรมของเมือง คือ ตั้งสภาผู้สูงอายุ ที่มีจำนวนมากถึง 1 ล้านกว่าคน ได้มาร่วมกันบริหารจัดการงบประมาณด้วยตัวเอง ให้ได้ใช้งบประมาณถูกที่ถูกจุด ไม่ได้ลงไปที่เขต แล้วเขตก็คิดเอง ไม่ได้ใช้ถูกที่ถูกจุดไม่ตรงประเด็น ที่แต่ละเขตนั้นมีผู้สูงอายุที่มีความต้องการไม่เหมือนกัน


ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

น.ต.ศิธา ทิวารี, ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.)


  • นโยบายหลัก ‘3P’ ได้แก่ People-สร้างคน Profit-สร้างงานสร้างเงิน และ planet-สร้างเมือง
  • จัดให้คนทำงานเพื่อสังคม เข้ามาเป็น ‘คลังสมอง’ โดยใช้เทคโนโลยีมาประมวลผลให้สอดคล้องกับงบประมาณบริหารจัดการ กทม. และกฎหมาย
  • เปลี่ยนเทศกิจจากคนที่ไปตรวจสอบ (Inspector) เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator)
  • ต้องดูแลผู้หญิงเป็นพิเศษ ให้สามารถดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนเติบโตอย่างมีคุณภาพ
  • พัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองที่เด็กมีคุณภาพ เป็นพลเมืองที่สามารถแข่งขันกับโลกได้
  • จะทำให้โรงเรียน กทม. ทุกโรงเรียน มีคุณภาพเทียบเท่ากับโรงเรียนเอกชน
  • ผู้สูงอายุและผู้พิการเข้ามามีส่วนร่วมคิดร่วมทำเพื่อให้ทัดเทียมคนปกติและกลุ่มธุรกิจใหญ่

ก่อนที่ผมจะมาเห็นนโยบายของที่นี่ “สร้างคน สร้างงาน สร้างเมือง” ผมมีนโยบายมาตั้งแต่แรก ผมชู 3 ประเด็นคือ “People คือสร้างคน, Profit คือ สร้างงาน มีเงินไปเจือจุนครอบครัว และ P สุดท้ายของผมคือ Planet คือ การสร้างเมือง”

คำถามที่ว่า “อยากเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา กทม.”

Thinktank หรือคนที่เป็นคลังสมองของผู้ว่าฯ ที่ชื่อ “สิทธา ทิวารี” คือ คนที่ทำงานเพื่อสังคมทุกคนครับ ผมจะมีระบบเทคโนโลยีเอาความคิดเห็นทั้งหมดนี้มากำหนดงบประมาณบริหารจัดการ กทม. มาช่วย “เลื่อน ลด ปลด ย้าย” ข้าราชการ กทม. ทุกส่วน เพื่อให้รู้ว่าคนนี้ๆ เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมพัฒนา กทม.

เมืองไม่สามารถพัฒนาได้ด้วย Super Hero เพียงคนเดียว ผู้คนต่างหากที่เป็นคนสร้างเมือง NGOs คนที่พัฒนาเพื่อสังคม คุณคือคนที่มีความรู้มีความคิดดีๆ ทำงานให้กับเมือง

ผมจะนำเอาความคิดของทุกท่านมาปรับให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎหมายอันไหนที่ block เราจะแก้ไขกฎหมายนั้น ทำให้อำนวยความสะดวกให้กับประชาชน

เราจะร่วมสร้างคนสร้างเมืองไปด้วยกัน ผมจะทำในสิ่งที่ผู้ว่าฯ กทม. ไม่เคยทำ

ประเด็นแรงงาน เวลาคนทำงานเสนออะไรไป เจ้าหน้าที่ระดับล่างเหมือนจะรับฟัง แต่เมื่อได้เติบโตไป กลับไม่สนใจข้อเสนอนั้นเลย ผมเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตคลองเตย ปี 2543 แล้วก็ถูกรัฐประหาร ผมคลุกคลี กินนอนกับชาวบ้าน ผมเข้าใจจิตใจของท่านเหล่านั้นดี

ผมอยู่ใน “กระบวนการ…ร่วมใจ…ร่วมคิด…ร่วมทำ” ร่วมกับชาวบ้าน ผมโดนตัดสิทธิ์ทางการเมืองในปี 2549 ผมไม่สามารถที่จะทำงานได้ ผมก็อยู่เบื้องหลังไปช่วยงานตรงนี้ตลอด

นโยบายหาบเร่แผงลอย ผมจะเปลี่ยน “เทศกิจ” จากการที่ไปตรวจสอบ จากเป็น Inspector ให้เป็น regulator และจาก Inspector และ regulator ให้เป็น facilitator

เทศกิจทุกเขตจะต้องสนับสนุนให้ชาวบ้านสามารถทำมาหากินได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยไม่กีดขวางการจราจร ประชาชนจะต้องสามารถทำมาหากินได้

ประเด็นผู้หญิง ที่เรียกร้องมาทุกยุคทุกสม้ย แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ต่อยอดไปถึงกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มผู้พิการ ที่พูดกันว่า “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” แต่ทุกวันนี้การบริหารจัดการงบ การเข้าไปดูแลอะไรต่างๆ เราทิ้งคนเหล่านี้ไว้ข้างหลังหรือไม่

ผู้หญิงเป็นเพศที่เราต้องดูแลเป็นพิเศษ เกิดจากเด็กตัวเล็กๆ ที่กินนมแม่และโลกทั้งใบของเด็กคือแม่ที่ปลูกฝังมาซึ่งในช่วง 0 – 3 ปีแรกของเด็ก เป็นช่วงการเรียนรู้และเติบโต การสร้างนิสัยถาวร ที่เรียกว่า “สันดาน” เพราะฉะนั้นต้องให้โอกาสผู้หญิงในการสร้างประชาชนที่มีคุณภาพให้กับประเทศชาติมากที่สุด

ผู้สูงอายุ คนตัวเล็ก คนยากคนจน คนที่ไม่สามารถไปต่อกรกับธุรกิจใหญ่ได้ รัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมา มีแนวโน้มช่วยคนรวยไม่ช่วยคนจนเสมอมา

เรื่องผู้พิการ คือคนที่เรากำลังทิ้งอยู่ข้างหลัง เราพัฒนาเมืองลงทุนเป็นหมื่นล้าน เราเจียดเงินแค่ ไม่ถึง 5-10 % ของงบประมาณที่ใช้ เราลดความสะดวกสบายของคนมีอาการครบ 32 ของผู้ใช้ที่แข็งแรง ของผู้ใหญ่ ให้กับคนที่พิการสามารถเข้ามาร่วมใช้งานกับเราได้

ผู้ว่าฯ กทม. สามารถทำได้ทั้ง 2 ส่วน คือ จะไปกดทับอัตลักษณ์ที่ทับซ้อนของผู้มีอัตลักษณ์ที่แตกต่าง หรือปลดปล่อยให้เขาสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนอื่น

ความคิดความอ่านของคนพิการ ไม่ได้ด้อยไปกว่าคนที่มีความรู้เลย จะเห็นว่าคนที่เสียเปรียบบางอย่างในสังคม เขาจะทุ่มเททำทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อให้เขากลับมาสู้กับคนอื่นได้ เขามีความรู้สึกและมีความคิดที่จะพัฒนาในส่วนของเขา ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ตั้งแต่ระดับรัฐบาลถึงกทม. ไม่เคยให้ความสำคัญตรงนี้

ประเด็นเด็ก เด็กคืออนาคตของชาติและต้องมีการดูแล บนความเชื่อว่าเราสามารถพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองที่เด็กมีคุณภาพเติบโตมีความสามารถ ในอนาคตเด็กเราต้องเป็นพลเมืองที่สามารถแข่งขันกับโลกนี้ได้ ในอนาคต เด็กของเราต้องเป็น Global จึงต้องยกระดับให้ กทม. เป็น Global City เป็นเมืองที่มีมาตรฐานระดับโลก ก็จะทำให้ประเทศไทยทั้งประเทศ มีความเจริญยั่งยืน

เราจะลงทุนด้านการศึกษา ผมจะทำให้โรงเรียน กทม. ทุกโรงเรียนมีคุณภาพเทียบเท่ากับโรงเรียนเอกชน เรื่องดูแลลูกหลานของเราให้ปลอดภัย เรื่องอาหารที่มีสุขลักษณะ


ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร, ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล


  • สร้างเมืองที่คนเท่ากัน เพื่อสวัสดิการเเละคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น โดยให้มีจัดสวัสดิการสังคมให้กับคนทุกกลุ่มถ้วนหน้า ไม่ใช่การสังคมสงเคราะห์เฉพาะกลุ่มเปราะบาง
  • กระจายอำนาจสู่ชุมชน ด้วยการกระจายงบประมาณให้ชุมชนจัดสรรงบบริหารกันเอง หน่วยงาน กทม. และผู้ว่าราชการเป็นเพียงผู้กำกับดูแล ไม่ใช่เป็นผู้ตรวจสอบควบคุมเช่นที่ผ่านมา
  • เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุเป็น 1,000 บาท
  • เพิ่มเบี้ยคนพิการเดิม 800 บาท เพิ่มอีก 400 บาท เป็น 1,200 บาท
  • สวัสดิการเด็กแรกเกิด 0-6 ปี ของเดิมได้เฉพาะคนจน 600 บาท/เดือน ให้เป็นเด็กทุกคน 0-6 ปี ได้เงินอุดหนุนถ้วนหน้า 1,200 บาท นำงบประมาณ 5 ล้านบาท ให้ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก
  • ความรุนแรงทางเพศและการถูกคุกคาม เมื่อตกเป็นเหยื่อ กทม. ต้องจัดหน่วยงานเฉพาะเข้ามาเป็นผู้ร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย

วันนี้ผมฟังแต่ละท่าน ทุกท่านฝากผู้ว่าฯ ทำไมเวลาที่เจอปัญหา ท่านต้องอ้อนวอนร้องขอแบบนี้

รัฐราชการต้องถูกทำลายให้หมด เมืองที่คนเท่ากัน ผมต้องการเมืองที่การจัดการขยะหน้าห้างกับหน้าบ้านท่าน ดีเท่ากัน ผมต้องการเมืองที่ท่อระบายน้ำหน้าบ้านท่าน กับหน้าห้างใหญ่หน้าคอนโดฯ หรู มีการจัดการเหมือนกัน ผมต้องการให้โรงเรียนที่ลูกท่านเรียนกับโรงเรียนเอกชน มีคุณภาพขั้นพื้นฐานดีเหมือนๆ กัน ผมต้องการให้เมืองๆ นี้มีโอกาสตั้งตัวได้เหมือนๆ กัน ไม่ใช่เป็นเมืองที่คุณทำงานแบบเดือนชนเดือน เกิดก็ตาย แก่ก็ตาย มองเห็นลูกก็ยังจนเหมือนเดิม นี่คือเมืองที่คนเท่ากัน

เมืองที่คนเท่ากัน เป็นบันไดขั้นแรกสู่เมืองที่มีความหวัง และเมืองที่มีโอกาส เมืองที่มีโอกาสบอกรับทุกคน คือเมืองอนาคตที่ทุกคนต้องการ

ทำไมต้องกระจายงบประมาณ จากงบราชการรวมศูนย์ที่ไปอยู่ที่สำนักงานเขต อยู่ที่งบกลางผู้ว่า 14,000 ล้านบาท อยู่ที่สำนักต่างๆ เราต้องกันงบออกมา 4,000 ล้านบาท เอาไปลงชุมชน 2,000 ชุมชน 1,400 ล้านบาท ชุมชนละ 500,000 – 1,000,000 บาท ลงอีก 50 เขต 2,400 ล้านบาท เพราะมีคนที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนก็มี อีก 200 ล้านบาท เอามาบวกเป็นความฝันร่วมกันทั้งหมดของ กทม.

พูดว่า “กระจายอำนาจ” แต่คนที่ถืออำนาจคือคนถือเงิน เรากระจายงบประมาณลงมาในมือประชาชนอย่างถูกต้อง ท่านอยากทำโครงการอะไรไปทำงานกับชุมชนได้เลย ไม่ต้องไปร้องขอผู้ว่าฯ นื่คือกระดุมเม็ดแรกที่เปลี่ยนแปลงสังคมนี้อย่างยั่งยืน และคือการคืนอำนาจให้กับประชาชน

ข้อเสนอของผู้พิการที่ว่า “ไม่ต้องให้สิทธิพิเศษ” เลย ต้องการแค่เข้าถึงสิทธิในฐานะ “ประชาชนคนหนึ่ง” ผมคิดว่านี่คือระบบราชการที่มองตัวเองเป็นเจ้านาย ผลักภาระให้กับประชาชน เวลาผู้พิการไปติดต่อราชการ ข้าราชการมีหน้าที่ต้องมาอำนวยความสะดวกเช่นคนทั่วไปใช่มั้ย

ต้องจัดให้มีสวัสดิการแก่ผู้พิการ ด้วยการเพิ่มเบี้ยผู้พิการ เดิม 800 บาท เพิ่มอีก 400 บาท เป็น 1,200 บาท อย่าคิดว่านี่คือการสงเคราะห์เด็ดขาด

ผู้สูงอายุ ทำไมต้องมีสวัสดิการ เช่น ผู้สูงอายุ คนทำงานต้องดิ้นรนหากินในแต่ละวัน ถ้าเมืองนี้ดูแลพ่อแม่ของเราได้ ผมสามารถวิ่งตามความฝันได้ใช่ไหม ผมสามารถทำงานได้ใช่ไหม

พูดอยู่นั่นแหละ reskill/upskill แต่ผมจะเอาอะไรไป reskill/upskill ผมมีแต่คำพูดที่อยู่ในหนังลัดดาแลนด์ ว่า “กูไม่ออกหรอก ออกแล้วกูจะเอาอะไรแดก” ถูกไหม?

นี่คือจุดเริ่มต้นของ ‘รัฐสวัสดิการ’ ไม่ใช่ ‘สังคมสงเคราะห์’ และจะกดดันให้รัฐบาลทำรัฐสวัสดิการ 3,000 บาท ทั่วประเทศ

ประการที่สอง ฉีดวัคซีนปอดอักเสบ ผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคปอดอักเสบเป็นอันดับ 3 หลายคนต้องเจาะคอ หลายคนต้องติดเตียง ลูกหลานก็เดือนร้อน

เรื่องเด็กเล็ก จัดงบประมาณ 5 ล้านบาท เพื่อดูแลศูนย์เด็กเล็ก พูดว่า “เด็กคืออนาคตของชาติ” แล้วคุณจัดงบประมาณดูแลเด็กแค่นี้หรือ

ทำไมพูดถึงเรื่องอุดหนุนตั๋วรถเมล์ ประสานงานกับ สปสช. ให้มากกว่านี้ เพิ่มศูนย์คลีนิกชุมชนอบอุ่นให้มากกว่านี้ มันไม่ใช่การสงเคราะห์ แต่เป็นการลงทุน เพื่อสวัสดิการของทุกคน ถ้าสวัสดิการในเมืองดีกว่านี้ ทุกคนจะมีรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายมากขึ้น เมื่อทุกคนมีสวัสดิการที่ดี ก็จะรู้สึกมั่นคง เราก็กล้าบริโภคใช่มั้ย เมืองที่มีกำลังซื้อ มันคือเมืองน่าลงทุนใช่มั้ย

เรื่องความรุนแรงทางเพศและการถูกคุกคาม ประชาชนเป็นเหยื่อใช่มั้ย ต้องให้ กทม. จัดหน่วยงานที่เป็นเจ้าทุกข์แทนเขา ไม่ใช่ผลักให้เขาไปปกป้องสิทธิเรียกร้องความยุติธรรมเพื่อตัวเขาเอง

เรื่องหาบเร่แผงลอย คุณไม่ไว้ใจประชาชน คุณให้ประชาชนคุยกันสิ จะวางกติกากันอย่างไร แล้วสร้างกลไกให้คนตัวใหญ่ทำประโยชน์และช่วยเหลือประชาชนได้มั้ย นายทุนอยากเสียภาษีที่ดินราคาถูก ก็จัดพื้นที่ขายสิ ทำตลาดหน้าออฟฟิศ เปิดเวทีให้ประชาชนคุยกันสิ ที่ผ่านมาผู้ว่าฯ ทำตัวเป็นเจ้านาย ผมเบื่อคำว่า ‘จัดระเบียบ’ ผู้ว่าฯ ที่แท้จริงต้องจัดเวทีให้ประชาชนมาคุยกัน คุณแค่รักษากติกาของประชาชน


CREDITS:
PHOTOS: UNSPLASH, PIXABAY
ART DIRECTOR: Perayut Limpanastitphon


สามารถติดตามคอนเทนต์อื่นๆ ที่น่าสนใจได้ ที่นี่

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn
On Key

Related Posts

“VIJIT CHAO PHRAYA 2024”

VIJIT CHAO PHRAYA 2024

Post Views: 12 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เตรียมความพร้อมด้านการท่องเที่ยวไทยในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 จัดงาน “VIJIT CHAO PHRAYA 2024 กระทรวงการท…

Tarot 17 nov

Your Tarot Weekly

Post Views: 21 คำพยากรณ์รายสัปดาห์ระหว่างวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน – วันเสาร์ที่​ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 โดย​ มาดามราเชล วันอาทิตย์ นิสัย​ของดาว : ยศ…

Penthouse Bar + Grill at Park Hyatt Bangkok

Post Views: 6 เพนท์เฮาส์ บาร์ แอนด์ กริลล์ ณ โรงแรมพาร์ค ไฮแอท กรุงเทพฯ เปิดตัวประสบการณ์แฮงค์เอ๊าท์ ‘Reimagined’ สุดเอ็กซ์คลูซีฟ Penthouse Bar + Gril…

Uniqlo x Marimekko Fall/Winter 2024

Post Views: 8 Uniqlo เปิดตัวคอลเลกชันลิมิเต็ด เอดิชัน Uniqlo x Marimekko Fall/Winter 2024 Uniqlo (ยูนิโคล่) แบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำระดับโลก เปิดตัว  Uniq…

Patek Philippe Cubitus Collection

Post Views: 7 Patek Philippe เผยโฉมนาฬิกาคอลเลกชัน Cubitus ในสไตล์สปอร์ตที่สง่างาม Patek Philippe (ปาเต็ก ฟิลลิปป์) เผยโฉมนาฬิกาคอลเลกชัน Cubitus (คิว…