Breguet (เบรเกต์) เผยโฉมเรือนเวลาระดับมาสเตอร์พีซ Classique Double Tourbillon “Quai de l’Horloge” 5345 ผสานสุดยอดงานศิลป์ผสานเทคนิคอันประณีตซับซ้อนเข้าไว้ด้วยกัน
Breguet (เบรเกต์) เผยโฉมเรือนเวลาระดับมาสเตอร์พีซ Classique Double Tourbillon “Quai de l’Horloge” 5345 ผสานสุดยอดงานศิลป์ผสานเทคนิคอันประณีตซับซ้อนเข้าไว้ด้วยกัน ในนิยามที่เป็นการยกย่องศาสตร์และศิลป์แห่ง the Manufacture หรือสถานที่รังสรรค์นวัตกรรมเรือนเวลาของเบรเกต์
ถ่ายทอดความสง่างามผ่านตัวเรือนโรสโกลด์ขนาด 46 มิลลิเมตร หนา 16.8 มิลลิเมตร สะท้อนความเชี่ยวชาญบนหน้าปัด จากการรังสรรค์ความซับซ้อนของกลไก 588N2 ด้วยชิ้นส่วนกว่า 740 ชิ้น เผยโฉมทูร์บิญงคู่ทั้งสองชุดบนหน้าปัด ซึ่งทูร์บิญงอันเป็นส่วนสำคัญของกลไกแสดงเวลานั้นขับเคลื่อนควบคู่กันราวกับกำลังเริงระบำ ส่วนบาร์ของทูร์บิญงทั้งสองชุดยึดอยู่กับเมนเพลทหลัก ซึ่งจะหมุนครบรอบในทุกๆ 12 ชั่วโมงด้วยการทำงานของกลไกเฉพาะที่มีความซับซ้อนขั้นสูง
กลไก Double Tourbillon ทำจากทองคำ ขึ้นลานด้วยมือ สลักกิโยเช่ด้วยมือ เมนเพลทสลักลาย ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์และบาร์เรลแบบแยกกันเฉพาะตัว ซึ่งต่างก็หมุนครบรอบในทุกหนึ่งนาที กลไกทั้งสองทำงานเชื่อมโยงกันด้วยระบบความถี่ศูนย์กลางที่เป็นตัวกำหนดความถี่ของกลไกนาฬิกา และมีชุดอุปกรณ์ที่สามเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานของกลไกทั้งหมดอีกด้วย โดยกลไก Calibre 588N2 ฟังก์ชันแสดงเวลา ชั่วโมงและนาที ความถี่ 2.5 เฮิรตซ์ สำรองพลังงาน 60 ชั่วโมง
ผู้ออกแบบได้สร้างสรรค์ให้บาร์ทำหน้าที่เป็นเข็มชั่วโมงไปด้วยในตัว ผ่านรูปลักษณ์เข็มนาฬิกาในแบบฉบับของ Breguet แสดงตัวเลขแบบโรมันและสลักหลักนาทีเคลือบสีน้ำเงินขัดเงา ทำให้ดูราวกับว่าขอบหน้าปัดนาฬิกาด้านในกำลังลอยเหนือกลไก ขอบข้างด้านในตัวเรือนสลักเซาะร่องแนวตั้ง พร้อมหลักชั่วโมงแสดงด้วยตัวเลขโรมัน 12 ตัว ซึ่งนำไปเคลือบขัดเงาอีกครั้งด้วยสีดำ ให้ตัวเลขเกิดเงามีมิติ ติดตั้งหน้าปัดคริสตัลแซฟไฟร์ใส ประดับคู่สายรับเบอร์สีมิดไนท์บลูประทับตรา Breguet
สะท้อนความเชี่ยวชาญของแบรนด์จากการยกย่องงานหัตถศิลป์ผ่านตัวเรือนข้อมือผสานงานฝีมือหลากหลายแขนงเข้าไว้ด้วยกันในเรือนเดียว อย่างศิลปะ Guilloché (กิโยเช่) โดยช่างศิลป์ของ The Manufacture คือผู้เชี่ยวชาญในศิลปะแขนงนี้ ได้รังสรรค์ลวดลายสำหรับเรือนเวลาเรือนนี้โดยเฉพาะ คือ ลาย radiant flinqué (ลายคลื่นเสียง)
ซึ่งมีการตกแต่งลวดลายนี้บนเมนเพลทโรสโกลด์แบบหมุน รวมถึงบริดจ์ทองคำโรเดียมเพลทที่อยู่ข้างใต้ เทคนิคการสลักลายแบบ guilloché ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ Breguet ซึ่งเป็นศิลปะที่ต้องอาศัยเครื่องกลึงถึงเกือบ 30 เครื่อง ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเวิร์คชอปที่สำคัญของอุตสาหกรรมนาฬิกา
สำหรับเครื่องกิโยเช่ใหม่ทาง Manufacture ได้รังสรรค์ขึ้นเอง ส่วนเครื่องรุ่นดั้งเดิมบางเครื่องมีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 18 ทางแบรนด์ได้ทำการซื้อคืนมาจากเจ้าของที่เป็นบุคคลและจากบริษัทต่างๆทั่วโลก นำกลับมาซ่อมแซมโดยผู้เชี่ยวชาญของทางแบรนด์ แล้วจึงนำกลับมาใช้ในเวิร์คชอปในปัจจุบัน เครื่องกิโยเช่แต่ละเครื่องมีคุณสมบัติแตกต่างกัน และสามารถสร้างสรรค์ลวดลายที่หลากหลาย ทั้งเครื่องทำลายตรง ลายทรงกลม ดูแลโดยที่ช่างฝีมือที่ได้รับการฝึกฝน ทั้งสามารถยลโฉมเทคนิคการตกแต่งแบบอื่นๆ ได้บนหน้าปัด ไม่ว่าจะเป็นการขัดเงากรงทูร์บิญง หน้าปัดย่อยแสดงนาทีที่ปัดลายซันเบิร์สที่บริดจ์ลวดลายก้นหอย หรือเฟืองและบาร์เรลตขัดลายซาตินด้วยเทคนิคแบบปัดวน รวมถึงการตกแต่งแบบเนื้อทราย หรือ circular graining ที่แนวข้างของเมนเพลตแบบหมุน
ส่วนการแกะสลักลวดลายที่ด้านหลังกลไกต้องใช้เวลานานกว่าร้อยชั่วโมง รายละเอียดงานแกะสลักชวนให้นึกถึงสถานที่ที่เป็นจุดกำเนิดของแบรนด์ Breguet โดยเหล่าช่างฝีมือของ The Manufacture สลักรูปต่างๆ ด้วยมืออันเป็นรูปเวิร์คชอปของ Abraham-Louis Breguet (อับราฮัม-หลุยส์ เบรเกต์) ซึ่งตั้งอยู่ที่ 39 Quai de l’Horloge (คเว เดอ ออค์ลอจ์) ผ่านการมองจากมุมสูง โดยใช้หลากหลายเทคนิคในการสร้างสรรค์แผ่นทองคำให้เกิดเป็นภาพมีมิติ คือการสลักแกะลายแบบนูนสูง ส่วนพื้นผิวถนนเกิดจากการใช้อุปกรณ์ปลายแหลมมาแกะลายเส้นขนาดเล็กละเอียด สีเทาเกิดจากการใช้โรเดียมสีดำและเทา ซึ่งสีเทาเฉดนี้นำมาใช้กับบริดจ์ที่ใช้เทคนิคการเคลือบแบบ galvanic (กัลวานิค) ด้วย
บรรดาช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญของเบร์เกต์ ได้ฝึกฝนความสามารถอันเยี่ยมยอดนี้ เพื่อสืบสานสุนทรียศาสตร์ของแบรนด์ ที่คงสไตล์ในแบบฉบับของตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับงานฝีมือทั้ง engraving (การสลักลาย) relief engraving (การสลักนูนสูง) intaglio engraving (การสลักลงบนวัสดุเนื้อแข็ง) ต่างก็เป็นเทคนิคการแกะสลักชั้นสูงที่แบรนด์นำมาสร้างสรรค์ผลงานอยู่เสมอ สำหรับชิ้นส่วนกลไกทุกชิ้น ล้วนผ่านการตกแต่งด้วยศิลปะการลบคม และขัดขึ้นเงาทั้งสิ้น
การสร้างเหลี่ยมมุมมากมายทั้งด้านในและด้านนอกนั้นล้วนเป็นงานทำมือ นับเป็นเอกลักษณ์ของ Haute Horlogerie หรือ ศิลปะเรือนเวลาชั้นสูงอย่างแท้จริง ที่ต้องใช้เวลากว่าร้อยชั่วโมงในการรังสรรค์กลไกเหล่านี้ขึ้น รวมไปถึงความแม่นยำ ซึ่งวิธีการนี้เป็นศิลปะที่เผยความโดดเด่นของการขัดแต่งอันงดงามอย่างแท้จริง
บาร์เรลบริดจ์ปัดลายซาติน สลักตัวอักษร “B” มาจาก Breguet และขัดเงาแบบ round-off ที่เรียกว่า poli-berçé (โปลี-แบซ) ช่างฝีมือจะแต่งมุมชิ้นส่วนต่างๆ ด้วยมือ โดยใช้เทคนิคหลากหลายเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่สวยงามเป็นพิเศษ เช่น polished angles, satin-brushed flanks, straight graining และ poli-bercé ซึ่งสามารถชมความงดงามเหล่านี้ได้ในกลไกทุกชิ้น
เทคนิค chamfering หรือเรียกอีกอย่างว่า bevelling เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน เทคนิคนี้ต้องอาศัยความมานะขั้นสูงต้องตะไบเหลี่ยมมุมคมๆ ของชิ้นส่วนกลไกต่างๆ ให้เห็นเป็นรูปทรงชัดเจนและเงางามในการเล่นแสง ซึ่งการขัดเงาต้องขึ้นเงาในระดับเดียวกัน มุมด้านในจะต้องเป็นเส้นเรียบเนียน ให้มีจุดที่สองมุมมาบรรจบกันได้
CREDITS:
PHOTOS: COURTESY OF BREGUET