Van Cleef & Arpels รังสรรค์ผลงานเครื่องประดับชั้นสูงคอลเลกชัน Treasure Island ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวการผจญภัยจากวรรณกรรม
Van Cleef & Arpels (แวน คลีฟ แอนด์ อาร์เปลส์) รังสรรค์ผลงานเครื่องประดับชั้นสูงคอลเลกชัน Treasure Island ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวการผจญภัยจากวรรณกรรม “Treasure Island” หรือ “เกาะมหาสมบัติ” งานประพันธ์โดยนักเขียน และกวีสัญชาติสก็อตแลนด์ Robert Louis Stevenson (โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน) ทำการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1883
สู่การรังสรรค์ผลงานหลากรูปแบบกับการออกเดินทางผจญภัย ผ่านงานออกแบบคอลเลกชันเครื่องประดับชั้นสูง ถ่ายทอดเรื่องราวในจินตนาการ โดยทางเมซงแบ่งเรื่องราวออกเป็น 3 บท โดยบทแรกสะท้อนถึงความงดงามของมหาสมุทร นำมาซึ่งสีฟ้าหลากเฉด ตั้งแต่สีฟ้าจากไข่นกการเวก (Turquoise) ไล่เฉดไปจนถึงสีเขียวของมรกต ในขณะที่บทที่สองดีไซน์งานออกแบบจำลองชีวิตธรรมชาติอย่างเปลือกหอยเหลือบเฉดสีรุ้ง และบทส่งท้ายเป็นเรื่องราวการไล่ล่าหาสมบัติตั้งแต่ยุคก่อนโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา จนถึงอารยธรรมอันรุ่งเรืองของเอเชีย ล้วนรังสรรค์สู่ผลงานเครื่องประดับสุดวิจิตรบรรจง
Chapter 1 The Adventure at the sea
คอลเลกชันเกาะมหาสมบัติจากจินตนาการของ Van Cleef & Arpels คือการหลอมรวมภูมิทัศน์บรรยากาศตามลำดับการเดินทางและความตระการตาของศฤงคารล้ำค่าจากทั่วทุกมุมโลก มาแบ่งเรื่องราวออกเป็นสามองก์ Van Cleef & Arpels เริ่มต้นเรื่องราวของ “เกาะมหาสมบัติ” ในองก์ที่ 1 ผจญภัยกลางทะเลหรือ Adventure at sea ด้วยการกางใบเรือออกทะเลตรงสู่แดนไกลสุดขอบฟ้า โดยมีบรรดานักออกแบบ นักอัญมณีวิทยาและช่างศิลป์งานฝีมือร่วมแรงร่วมใจต่างขบวนกลาสีกับต้นหน และใช้รัตนชาตินานัปการกับทองคำต่างถ้อยคำพรรณนาวิถีเดินเรือท่ามกลางห้วงมหาสมุทร
Chapter 2 Exploring the Island
หลังทิ้งสมอจอดเรือนอกชายฝั่งเกาะในฝัน ในองก์ที่ 2 “สำรวจเกาะ” หรือ Exploring the island เหล่าโจรสลัดกับผองกลาสีของ Van Cleef & Arpels ก็พากันย่ำเท้าลงบนผืนทรายสีทองและเก็บเปลือกหอยล้ำค่าดุจรัตนชาติแห่งท้องทะเลที่ตนพบเจอระหว่างทางสำรวจพงไพรขนาบริมหาดจนล่วงลึกเข้าไปพบกับสรรพสีที่คล้ายกำลังซ่อนขุมทรัพย์ ความงดงามแห่งมวลรุกขชาติแปลกตาสะท้อนถึงมุมมองอันรื่นรมย์ที่มีต่อชีวิตได้อย่างแยบคาย
Chapter 3 The Treasure Hunt
บรรดาสมบัติล้ำค่าที่ถูกซุกซ่อนอยู่ใจกลางเกาะตามจินตนาการของ Van Cleef & Arpels ไม่ว่าจะเป็นเพชรนิลจินดาจากสี่มุมโลก หรือทองคำสลักลายอันแสนวิจิตรบรรจง ล้วนถูกรังสรรค์มาสู่เครื่องประดับในองก์ที่ 3 “ล่าสมบัติ” หรือ The treasure hunt ซึ่งอาศัยลูกเล่นสะกดสายตาจากการผสมผสานหลากวัสดุต่างเฉดสีเช่นเดียวกับแรงบันดาลใจต่างที่มา แสดงให้เห็นถึงมุมมองซึ่งเมซงมีต่อดินแดนไกลโพ้นสุดเส้นขอบฟ้า
CREDITS:
PHOTOS: COURTESY OF VAN CLEEF & ARPELS
สามารถติดตามคอนเทนต์อื่นๆ ที่น่าสนใจได้ ที่นี่