สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯเสด็จฯ งานฉลองครบรอบ “145 ปี บี.กริม”


สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ
เสด็จฯ งานฉลองครบรอบ “145 ปี บี.กริม” พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการทรงคุณค่าประวัติศาสตร์ขององค์กรหกแผ่นดินยึดมั่นการทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อประชาสังคม


สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นองค์ประธานงานเฉลิมฉลองครบรอบการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยปีที่ 145 ของ บี.กริม องค์กรที่อยู่เคียงคู่สังคมไทย จากรากฐานปรัชญาการดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี ซึ่งจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ภายใต้ชื่อ“บี.กริม 145 ปี แห่งการดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี รับใช้และเติบโตเคียงข้างกับประเทศไทย” พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการ “145 ปี บี.กริม” ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เมื่อช่วงค่ำวันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2566 โดยมี มร.ฮาราลด์ ลิงค์ และคณะผู้บริหาร บี.กริม ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จ

145 ปี บี.กริม

นิทรรศการ “145 ปี บี.กริม” ถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของบี.กริม องค์กรหกแผ่นดินที่ยึดมั่นการทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อประชาสังคม โดยพาทุกคนย้อนอดีตในปี พ.ศ.2421 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางมายังประเทศไทย ของเภสัชกรชาวเยอรมัน แบร์นฮาร์ด กริม และหุ้นส่วนชาวออสเตรีย แอร์วิน มุลเลอร์ เพื่อก่อตั้งห้างจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมและเคมีภัณฑ์ขึ้นที่ซอยโรงแรมโอเรียนเต็ล ถนนเจริญกรุง ในชื่อ “สยามดิสเป็นซารี่” ซึ่งเป็นร้านปรุงยาตำรับตะวันตกแห่งแรกในสยาม และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นร้านยาหลวงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

ในช่วงเวลาเดียวกัน บี.กริม ได้ร่วมมือกับตระกูลสนิทวงศ์ในการขุดคลองรังสิต ความยาว 1,500 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นโครงการชลประทานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ ขณะนั้น บี.กริม เติบโตและขยายกิจการอันหลากหลาย ทั้งเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ตั้งแต่การจากไปของเภสัชกรแบร์นฮาร์ด กริม เหตุการณ์ทางการเมือง รวมถึงการเปลี่ยนมือของหุ้นส่วน และผลกระทบจากสงคราม แต่ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ใด บี.กริม ก็ยังคงยึดมั่นปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ ด้วยความโอบอ้อมอารี รับใช้และเติบโตเคียงข้างกับประเทศไทยจวบจนถึงปัจจุบัน

145 ปี บี.กริม
145 ปี บี.กริม

บี.กริม ภายใต้การบริหารของ มร.ฮาราลด์ ลิงค์ ทายาทตระกูลลิงค์รุ่นที่ 3 ยังคงสืบทอดแนวคิดการทำงานจากบรรพบุรุษ ด้วยการ “การดำเนินธุรกิจด้วยความโอมอ้อมอารี” ทุกวันนี้ บี.กริม ที่ดำเนินกิจการในประเทศไทยมา 145 ปีแล้ว ได้แบ่งสายธุรกิจหลักไว้ 6 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจด้านพลังงาน ดำเนินกิจการโรงไฟฟ้า, ธุรกิจอุตสาหกรรม ให้บริการโซลูชันในการจัดการพลังงานและเชื่อมต่อระบบภายในอาคารและภาคอุตสาหกรรม (กลุ่มผลิตภัณฑ์ก่อสร้างและโซลูชันสำหรับอาคาร กลุ่มระบบทำความเย็น เครื่องปรับอากาศ กลุ่มอุปกรณ์พลังงาน และกลุ่มคมนาคม), ธุรกิจสุขภาพ จัดหาเวชภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง, ธุรกิจเทคโนโลยีดิจิตอล นำเสนอเทคโนโลยี่ที่ล้ำสมัย เสริมสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการพัฒนาสินค้าและการบริการในตลาด, ธุรกิจไลฟ์สไตล์ เป็นตัวแทนสินค้าแฟชั่นหลายกลุ่ม และ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

ภายในงาน มีการจัดนิทรรศการ “145 ปี บี.กริม” รายล้อมรอบบริเวณพระปรางค์วัดอรุณ บอกเล่าประวัติความเป็นมา ร้อยเรียงเรื่องราวของบี.กริมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน อีกทั้งยังมีซุ้มนำเสนออาหารประจำแต่ละรัชสมัย อาทิ สมัยรัชกาลที่ 5 นำเสนอเมนูอาหารเลิศรส อาทิ หมี่กรอบ, ฝอยทอง, ข้าวขวัญ และเมนูกระเช้าสีดา สมัยรัชกาลที่ 6 นำเสนอเมนู ข้าวตังหน้าตั้ง และมะกรูดแช่อิ่ม สมัยรัชกาลที่ 7 นำเสนอเมนูก๋วยเตี๋ยวผัดไทย, ดาราทอง ส่วนสมัยรัชกาลที่ 8 ประกอบด้วยเมนู นกกระจาบแตกรัง (ดอกแคสอดไส้หมูสับปรุงรส), ขนมนึ่ง สมัยรัชกาลที่ 9 นำเสนอเมนูที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงโปรด อาทิ ไข่พระอาทิตย์, กล้วยหักมุกเชื่อม, ส้มตำไทย ส้มตำลาว และ เมนูไข่ สมัยรัชกาลที่ 10 ประกอบด้วยเมนูยอดนิยมของประเทศไทย ข้าวเหนียวมะม่วง, ปลากุเลาแดดเดียว (ทอด ยำ ต้มส้ม) และ ต้มข่าไก่ เป็นต้น

145 ปี บี.กริม
145 ปี บี.กริม

นอกจากความวิจิตรงดงามของสถานที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารแล้ว ภายในงานยังมีการแสดงโขน “เรื่องรามเกียรติ์” ตอนศึกแสงอาทิตย์ โดยคุณพิเชษฐ กลั่นชื่น ศิลปินไทยร่วมสมัย แสดงควบคู่กับเพลงคลาสสิกร่วมสมัย ซึ่งประพันธ์โดย ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร ศิลปินแห่งชาติ และบรรเลงโดยวง Royal Bangkok Symphony Orchestra (RBSO) ควบคุมวงดนตรีโดยวาทยกรชื่อดัง ดร.วานิช โปตะวนิช โดยการแสดงโขน เรื่องราวรามเกียรติ์ ตอนศึกแสงอาทิตย์

เป็นการแสดงโดยคณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ที่บอกเล่าเรื่องราวของ แสงอาทิตย์ ยักษ์ที่มีอาวุธวิเศษเป็นแว่นแก้วสุรกานต์ ส่องผู้ใดผู้นั้นจะต้องตาย ทศกัณฐ์ออกคำสั่งให้แสงอาทิตย์ยกทัพไปรบกับพระรามพร้อมกับจิตรไพรีผู้เป็นพี่เลี้ยง พิเภกรู้ว่าแว่นแก้วสุรกานต์นั้นเก็บอยู่ที่พระพรหม จึงทูลพระรามว่า เมื่อแสงอาทิตย์มารบก็จะให้จิตรไพรีขึ้นไปเอาแว่นมาใช้ พระรามจึงได้สั่งให้องคตแปลงเป็นจิตรไพรีไปเอาแว่นมาเก็บไว้ก่อน เมื่อแสงอาทิตย์รบกับพระราม จนเพลี่ยงพล้ำและคิดว่าอาวุธทั้งหลายคงใช้ไม่ได้ จึงสั่งให้จิตรไพรีขึ้นไปเอาแว่นวิเศษจากพระพรหม เมื่อจิตไพรีไปพบพระพรหมเพื่อขอแว่นแก้วสุรกานต์ก็พบว่าถูกกลจากพระรามหลอกเอาแว่นไปเสียแล้ว แสงอาทิตย์จึงรู้ว่าเสียทีแก่ศัตรูแล้ว และในที่สุดแสงอาทิตย์ก็ต้องศรพรหมาสตร์ของพระรามจนถึงแก่ความตาย

“145 ปี บี.กริม” ครั้งนี้ จึงเปรียบเสมือนการถ่ายทอดประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า และเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษในฐานะที่ บี.กริมได้ร่วมทำกิจการรับใช้ประเทศเสมอมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 145 ปี

รายละเอียดอาหารประจำแต่ละรัชสมัย

● สมัยรัชกาลที่ 5 นำเสนอเมนูอาหารเลิศรส อาทิ หมี่กรอบ อาหารว่างลูกผสมระหว่างไทยและจีน มีรสชาติครบรส เปรี้ยว เค็ม หวาน โดดเด่นด้วยกลุ่มของน้ำส้มซ่าและผิวส้มซ่า, ฝอยทอง ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีตำราอาหารไทยเล่มแรกคือ แม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดยท่านผู้หญิง ภาสกรวงศ์ รายการของหวานที่ปรากฎในหนังสือเล่มนี้ ได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้าวเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง, ข้าวขวัญ เมนูที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท คิดทำถวายรัชกาลที่ 5 โดยการนำข้าวไปหุงกับกะทิ เสิร์ฟพร้อมเครื่องเคียงหลายอย่าง เช่น หมูฝอย ปลากุเลาเค็ม ไข่เค็ม เป็นต้น และเมนูกระเช้าสีดา ชื่อขนมชนิดนี้มีที่มาจากต้นกระเช้าสีดาในวรรณคดีรามเกียรติ์ มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว โดยตัวขนมจะทำมาจากแป้งและไข่ ลักษณะคล้ายแป้งทาร์ตในต่างประเทศ ถูกดัดแปลงให้สวยงาม มีรูปทรงคล้ายกับกระเช้า และมีขนมที่ทำด้วยมะพร้าวกวนกับน้ำตาล บรรจุลงในกระเช้า

● สมัยรัชกาลที่ 6 นำเสนอเมนู ข้าวตังหน้าตั้ง ซึ่งมีที่มาจากหลักฐานในหนังสือกาพย์เห่ชมเครื่องว่าง จากพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีลักษณะเป็นข้าวทอดกรอบรับประทานกับหน้าปรุงด้วยกะปิมีรสกลมกล่อม และ มะกรูดแช่อิ่ม ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ประชาชนมีการกินอยู่แบบง่าย ดังนั้นการใช้วัตถุดิบในการปรุงอาหาร จะหยิบจับพืชผักผลไม้ที่มีในละแวกที่อยู่อาศัยมาประกอบเป็นอาหาร หรือขนมไว้รับประทาน มะกรูดแช่อิ่ม มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอม รับประทานกับน้ำแข็งจะให้ความสดชื่น

● สมัยรัชกาลที่ 7 ประกอบด้วย ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ในยุครัฐบาล ฯพณฯจอมพล ป.พิบูลสงคราม รณรงค์ให้ราษฎรไทยบริโภคก๋วยเตี๋ยว และเมื่อปลายพ.ศ. 2585 มีวัฒนธรรมการกินแป้งเส้นขาวในประเทศไทย เมนูก๋วยเตี๋ยวจึงกำเนิดขึ้น นอกจากนี้ยังมี ดาราทอง ขนมสีเหลือง รูปร่างคล้ายมงกุฎ มีแผ่นแป้งรอง ประดับด้วยเมล็ดแตงโมกวาดน้ำตาล ชื่อ ดาราทอง มาจากรูปทรงของขนมที่เหมือนเครื่องราชอิสริยาภรณ์รูปดาว ดาราทองมีอีกชื่อเรียกว่า “ทองเอกกระจัง” ด้วยเมล็ดแตงโมมีรูปร่างคล้ายกับลายกระจัง และขนมชนิดนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยคุณหญิงเจือ สิงหเสนีย์ เพื่อส่งเข้าประกวดในช่วงฉลองปีใหม่ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม

● สมัยรัชกาลที่ 8 ประกอบด้วยเมนู นกกระจาบแตกรัง (ดอกแคสอดไส้หมูสับปรุงรส) นกกระจาบแตกรัง ทำด้วยดอกแคยัดไว้หมูและกุ้งสับ รับประทานคู่กับน้ำจิ้ม เป็นอาหารไทยที่แสดงถึงความสร้างสรรค์ของคนสมัยก่อนที่มีจินตนาการหยิบจับพืชผักผลไม้ที่มีในละแวกที่อยู่อาศัย จินตนาการรูปร่างของดอกแคตูมว่ามีลักษณะคล้ายตัวนก แล้วมารังสรรค์เป็นเมนูอาหารที่มีรูปลักษณ์น่าสนใจ รวมถึง ขนมนึ่ง (ขนมกล้วย ขนมฟักทอง ขนมมัน) การกินอยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 ประชาชนมีการกินอยู่อย่างง่าย วัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารจะหาได้จากธรรมชาติ ดังนั้น กล้วย เผือก มัน ฟักทอง จะเป็นวัตถุดิบที่มีการนำมาปรุงหรือประกอบเป็นเมนูอาหารชนิดต่างๆ

● สมัยรัชกาลที่ 9 ประกอบด้วยเมนู ไข่พระอาทิตย์ เป็นเมนูที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงประกอบอาหารให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ ขณะทรงพระเยาว์ และโปรดเกล้าฯ ให้กรมการค้าต่างประเทศนำสูตร “สูตรอาหารต้นตำรับข้าวหอมมะลิไทยในครัวนานาชาติ” ไข่พระอาทิตย์ทำจากไข่ไก่ปรุงรสด้วยน้ำปลา เติมข้าวสวยที่ไม่แฉะจนเกินไป แล้วนำไปทอดให้เหลือกรอบ รับประทานคู่กับพริกน้ำปลาหรือซอสพริก , กล้วยหักมุกเชื่อม เป็นเครื่องเสวยทรงโปรดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ขนมหวานไทยที่ทำด้วยกล้วยหักมุกที่นำไปเชื่อมจนเนื้อนิ่มราดด้วยกะทิ กล้วยหักมุกรสชาติจะซ่อนเปรี้ยวตัดกับความหวานของน้ำเชื่อม ทำให้ได้รสชาติขนมหวานที่กลมกล่อม, ส้มตำไทย ส้มตำลาว เป็นบทเพลงลูกทุ่ง ที่เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ บรรเลงครั้งแรกโดยวง อ.ส.วันศุกร์ โดยทรงชับร้องด้วยพระองค์เอง ต่อมามีผู้ขอพระราชทานนำเพลงนี้ไปประกอบภาพยนตร์ เรื่องส้มตำ (พ.ศ. 2516 และ 2551) ขับร้องโดยบุปผา สายชล และนำไปขับร้องโดยพุ่มพวง ดวงจันทร์ ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย และ เมนูไข่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ ทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานเป็นของขวัญวันพระราชสมภพครบ 72 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ด้วยทรงรำลึกได้ว่าสมเด็จพระเชษฐภคินีโปรดเสวยพระกระยาหารไข่ เป็นแรงบันดาลพระราชหฤทัยให้ทรงพระนิพนธ์ กอปรกับทรงพบโคลงสี่ “เมนูไข่” ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชนิพนธ์ไว้เมื่อพ.ศ. 2518 มีการขับร้องในงานพระราชทานบั้งฉลองสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2538

● สมัยรัชกาลที่ 10 ประกอบด้วยเมนู ข้าวเหนียวมะม่วง พบการรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงบนเวทีคอนเสิร์ตระดับโลก Coachella 2022 โดยศิลปินแร็ปชื่อดัง มิลลิ ขึ้นโชว์เพลงแร็ปไทยบนเวทีโลกที่สหรัฐฯ โดยได้กิน “ข้าวเหนียวมะม่วง” ขณะทำการแสดง ทำให้ “ข้าวเหนียวมะม่วงไทย” ดังไปทั่วโลกในชั่วข้ามคืน เป็นกระแสกระตุ้นการบริโภคอาหารของประเทศ, ปลากุเลาแดดเดียว (ทอด ยำ ต้มส้ม) ในช่วงที่มีการประชุมผู้นำเอเปค 2022 “APEC 2022” ปลากุเลา เป็นปลาชนิดหนึ่งที่มีผู้คนกล่าวถึงและเป็นกระแสสังคม ทำให้ประชาชนได้รู้จักและปลาชนิดนี้สามารถทำเมนูอร่อยได้หลากหลาย และเมนู ต้มข่าไก่ ปัจจุบันนักรีวิวอาหารทั่วโลก ยกให้เมนู “ต้มข่าไก่” ของประเทศไทย เป็นเมนูซุปที่ดีที่สุดในโลก

ประวัติ ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร เป็นศิลปินแห่งชาติ

ด้าน ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร เป็นศิลปินแห่งชาติ มีผลงานการประพันธ์เพลงคลาสสิกร่วมสมัย จำนวนมาก ได้แก่ ซิมโฟนี 9 บท คอนแชร์โต 13 บท และเพลงสำหรับออร์เคสตราอื่น ๆ จำนวนมาก ผลงานได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติอย่างกว้างขวาง โดยได้รับรางวัลศิลปาธรในปีพ.ศ. 2551 และได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ (ประพันธ์เพลงคลาสสิก) ในปีพ.ศ. 2564 ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ด้านการประพันธ์เพลง คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกร


CREDITS:
PHOTOS: COURTESY OF
B.GRIMM


สามารถติดตามคอนเทนต์อื่นๆ ที่น่าสนใจได้ ที่นี่

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn
On Key

Related Posts

Coussin de Cartier

Post Views: 9 Cartier (คาร์เทียร์) เผยโฉม Coussin de Cartier ขยายขอบเขตการสร้างสรรค์ไร้ขีดจำกัด Cartier (คาร์เทียร์) แบรนด์เครื่องประดับและนาฬิกาสัญชา…

Your Tarot Weekly

Post Views: 207 คำพยากรณ์รายสัปดาห์ระหว่างวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน – วันเสาร์ที่​ 4 เมษายน พ.ศ. 2567 โดย​ มาดามราเชล วันอาทิตย์ นิสัย​ของดาว : ยศศักดิ์…

Immersive Disney Animation at Emsphere, Bangkok Thailand

Post Views: 30 ฉลองครบรอบ 100 ปีกับเวทมนตร์สุดมหัศจรรย์ในโลก Animation ของ Disney กับงานแสดงนิทรรศการ Immersive Disney Animation  ครั้งแรกในประเท…

piaget-thumbnail-1

Piaget The Art of Extraleganza

Post Views: 63 Piaget เผยโฉมคอลเลกชันไฮจิวเวลรี ผ่านการตีความนอกกรอบและเป็นที่น่าจดจำ ที่สะท้อนความสง่างามแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง Watches and Wo…

Santos de Cartier and Santos-Dumont Collection

Post Views: 16 Cartier (คาร์เทียร์) เผยโฉมคอลเลกชัน Santos de Cartier and Santos-Dumont ถ่ายทอดจิตวิญญาณ สไตล์และมนต์ขลังของความอิสระเสรีได้อย่างชัดเจ…